ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
โรงเรียนราษฎร์วิทยาร่วมโครงการ Coding for Better Life
22 มิ.ย. 2567

โรงเรียนราษฎร์วิทยา (ตี่มิ้ง) หนึ่งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ Coding for Better Life  โค้ดดิ้งพัฒนาคุณภาพชีวิต

 นายวัชรินทร์ ใจยะสิทธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน  พร้อมด้วยนางรพิรัตน์ มงคลจุฑาเศรษฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ รับมอบอุปกรณ์ดิจิทัล ตามโครงการ  Coding  for  better  life (โค้ดดิ้งพัฒนาคุณภาพชีวิต) ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)  ณ โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย มุ่งสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งอย่างยั่งยืนผ่านการยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมทักษะและสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชน ครูผู้สอน บุคลากรการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปผ่านหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ เครื่องยนต์ที่สามของนโยบาย The Growth Engine of Thailand myh’ ทั้งนี้ โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เป็นส่วนหนึ่งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้
 
 “สำหรับโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ที่ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้นับเป็นหนึ่งโครงการในแผนงานระยะยาวที่มุ่งสร้างครูผู้สอนที่พร้อมถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านโค้ดดิ้งแก่นักเรียนรุ่นต่อรุ่น พร้อมกันนี้จะดำเนินการการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมรองรับการเรียนรู้ ซึ่งทั้งหมดจะช่วยสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัลในระยะยาวและยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ (Human Capital) เครื่องยนต์ที่สามของนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวง หรือ The Growth Engine of Thailand” รมว.ดีอี ได้กล่าวไว้ 

 ด้านนางรพิรัตน์ มงคลจุฑาเศรษฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ กล่าว่า โครงการ Coding for Better Life  เป็นทักษะที่ช่วยให้นักเรียนคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละขั้น อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน มีรูปแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่นกิจกรรม การแก้ปัญหาในกระดาษ (Unplugged) / การแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Plugged  Active Learning) และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของโค้ดดิ้ง ในการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โค้ดดิ้ง และสร้างความตระหนักให้นักเรียน รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ เลือกใช้ ICT ในการแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์จาก ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ใช้สื่อ ICTเพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้อย่างสนุก ไม่เบื่อ

เกษมสันต์ ไชยเดช ข่าวภูมิภาค / ตาก รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 ตุลาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...