ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
อัดงบ 7.73 หมื่นล.สร้างโครงข่าย คมนาคมขนส่งภาคตะวันออก
15 ก.พ. 2561

ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยของนายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ จ.จันทบุรี ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก ซึ่งกระทรวงคมนาคมรายงานว่าในระหว่างปี 2557-2561 มีการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างทางถนนในพื้นที่ภาคตะวันออกวงเงินรวม 7.73 หมื่นล้านบาท

โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด วงเงินลงทุน 2.02 หมื่นล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2563 โครงการขยายช่องทางจราจร เช่น ทางหลวงแผ่นดินทางเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา-ท่าเรือจุกเสม็ด และทางหลวงหมายเลข 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา ตอนที่ 2 เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากกทม. ไปยังฉะเชิงเทรา และโครงการเส้นทางเลียบถนนฝั่งตะวันออก ชลบุรี-ระยอง ซึ่งเหลือระยะทางก่อสร้างเพียง 3 ก.ม.สุดท้าย

ในระยะต่อไปกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะสร้างโครงการต่างๆ ในปี 2563-2566 โดยกรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 61 สายแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา เพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางอื่นๆ ที่จะเสนับสนุนการท่องเที่ยว

การพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 2.36 แสนล้านบาท ครอบคลุมการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน และที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา ในระยะต่อไปยังมีแผนที่จะสร้างระบบรางเป็นโครงข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV และจีนตอนล่าง ซึ่งทำให้แผนการพัฒนาระบบรางจะต้องมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่จากอีอีซีมายังจันทบุรี และจ.ตราด ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ระยะทางรวม 275 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการขอจัดสรรงบประมาณจากงบกลางฯตามความจำเป็นต่อไป

ส่วนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ จะเน้นการพัฒนาโครงการท่าเรือ 4 ท่าสำคัญ ได้แก่ มาบาตาพุด ท่าเรือสัตหีบ ท่าเทียบเรือคลองใหญ่ จ.ตราด และท่าเรือแหลมฉบัง ให้มีความเหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและรองรับการขนส่งในอนาคต

ด้านการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางอากาศ โดยกระทรวงคมนาคมขอให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานระยะที่ 1 มูลค่า 10,300 ล้านบาท เป็นโครงการนำร่องในอีอีซี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบข้อเสนอของภาคเอกชนที่เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการต่างๆตามที่ภาคเอกชนจ.จันทบุรี-จ.ตราด เสนอ ได้แก่ โครงข่ายถนน เช่น การศึกษาออกแบบก่อสร้างถนน จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเฉลิมบูรพาชลทิศ (อู่ตะเภา-ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี) เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางเลียบชายทะเล จ.ชลบุรี ส่วนต่อขยาย (เชื่อมต่อบูรพาวิถี-บางทราย) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และส่งเสริมการท่องเที่ยว เส้นทางสาย ค1 ผังเมืองรวมเมืองบ้านบึง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร เส้นทางเชื่อมขุนด่านปราการชล ช่วงแยกศรีนาวา-หินตั้ง จ.นครนายก เพื่อการท่องเที่ยว และ เส้นทางตัดใหม่จากแยก 3259-จุดผ่อนปรนบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

ส่วนที่ 2 ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เส้นทางโดยการเพิ่มช่องทางจราจรรองรับการพัฒนา จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเขาไร่ยา-แพร่งขาหยั่ง จ.จันทบุรี เพื่อสนับสนุนการขนส่งและการท่องเที่ยวเขาคิชกูฏ เส้นทางบ้านป่าวิไล-ด่านชายแดนบ้านแหลม จ.จันทบุรี เพื่อรองรับการค้าชายแดน เส้นทางนครนายก-บางหอย-บ้านสร้าง-พนมสารคาม เพื่อสนับสนุนการขนส่ง เส้นทางคลองหลวงแพ่ง-ปราจีนบุรี เชื่อมจ.จันทบุรีและจ.ปราจีนบุรี เพื่อสนับสนุนการขนส่งและอุตนหากรรม เส้นทางปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ เพื่อสนับสนุนการขนส่งและอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และ เส้นทางบางบุตร-ชุมแสง จ.ระยอง เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงจังหวัดระยองกับพื้นที่ EEci ใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

และในส่วนระบบขนส่งสาธารณะ ขอให้มีการศึกษาออกแบบรถไฟทางคู่สายระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เพิ่มเส้นทางรถไฟโดยสารด่วนพิเศษ (sprinter) สายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมโยงสถานีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง กับแหล่งท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และแหล่งชุมชน ในพื้นที่เมืองพัทยา ศรีราชา และแหลมฉบัง เป็นต้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...