กระแสการปรับตัวของธนาคารในประเทศไทยปี 2018 มีความร้อนแรงมากจริงๆ เริ่มต้นตั้งแต่ธนาคารไทยพานิชย์ประกาศลดสาขาเหลือ 400 สาขา (จาก 1,600 สาขา ลดพนักงานเหลือ 15,000 คนใน 3 ปี) จนล่าสุดที่กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก คือการประกาศให้ เซเว่นอีเลฟเว่นเป็น แบงก์กิ้งเอเย่นต์ ตัวแทนธนาคาร รับเงิน ฝากเงิน ถอนเงินได้ ตลอด 24 ชั่วโมง
ว่าแต่แบงก์กิ้งเอเย่นต์คืออะไร และทำอะไรแบงก์กิ้งเอเย่นต์จะทำหน้าที่เสมือนธนาคารขนาดย่อม โดยจะเข้ามาขยายธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ให้ประชาชน ทั้งรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน เพียงแต่สถานที่ในการทำธุรกรรมจะเปลี่ยนไป จากเดิมต้องไปที่แบงก์ แต่หลังจากนี้เดินเข้าร้านค้าโชว์ห่วยและร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เลย
เหตุผลที่ต้องเป็นแบงก์กิ้งเอเย่นต์ช่วยให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนการเปิดสาขาและลดต้นทุนจากการขนย้ายเงิน นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น โดยเฉพาะต่างจังหวัด
เงื่อนไขในการเป็นแบงก์กิ้งเอเย่นต์ ธนาคารที่จะอนุญาตให้ร้านค้าที่ต้องการเป็นตัวแทน ต้องมีระบบควบคุมที่ดี เพราะการดำเนินลักษณะนี้มีความเสี่ยง และการเลือกตัวแทนของธนาคารก็ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจของแต่ละธนาคาร ซึ่งจะเกิดขึ้นในเมืองก็ได้ แต่ในต่างจังหวัดจะได้ประโยชน์มาก เพราะประชาชนจะได้เข้าถึงการให้บริการทางการเงินจากธนาคาร จะได้เดินทางสะดวกและยังทำให้ต้นทุนการขนย้ายของธนาคารต่ำลงอีกมาก
ทำอย่างไรกับพนักงานแบงก์ อันนี้ต้องบอกว่าเป็นข่าวที่ไม่ดีนัก เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยเคยออกมาบอกว่า #พนักงานแบงก์ต้องเร่งปรับตัวหาตำแหน่งใหม่ นั่นหมายความว่า ต่อจากนี้นอกจากเราจะจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเกมออนไลน์ ค่าบัตรคอนเสิร์ต ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ อีกมากมายมากกกว่า 300 รายการผ่านเซเว่น เราจะสามารถฝาก-ถอน-โอน-ชำระเงิน ได้ราวกับเซเว่นฯเป็นหนึ่งในสาขาย่อยของธนาคารทีเดียว