ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
เวนคืน 9,838 ไร่สร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ แม่สอด-นครสวรรค์ แสนล้าน
15 ส.ค. 2567

การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) ผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ตามนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จุดเปลี่ยนสำคัญของ ระบบขนส่งทางรางในของไทย

หนึ่งในนั้น คือ โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 108,498 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 101,918 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3,895 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 2,684 ล้านบาท

หากโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 3 จังหวัด มีความสะดวกรวดเร็วและประหยัดต้นทุนด้าน โลจิสติกส์ ในอนาคต

ขณะความคืบหน้า แหล่งข่าวจากรฟท.ระบุว่า อยู่ระหว่างจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อชี้แจงเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เนื่องจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) มีมติให้แก้ไขรายงานฯเพิ่มเติม

โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก และช่วงที่ 2 ตาก – แม่สอด คาดว่าจะเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายในเดือนสิงหาคมนี้

ทั้งนี้ ตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม,สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2568

หลังจากนั้นจะดำเนินการเปิดประมูลหาผู้รับจ้างภายในเดือนตุลาคม 2568-มิถุนายน 2569 และเริ่มก่อสร้างทันที คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในกลางปี 2575

ด้านการเวนคืนที่ดินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ประมาณ 9,838 ไร่ (เขตทางกว้าง 50 เมตร) จะเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน) ภายในเดือนกรกฎาคม 2568 – มิถุนายน 2569

ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมขอใช้พื้นที่กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ และหน่วยงานอื่น ๆ ภายในเดือนมกราคม 2569 – ธันวาคม 2570

สำหรับการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 สัญญา ดังนี้ สัญญาที่ 1 ช่วงนครสวรรค์-ตาก ระยะทางรวม 183 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 177.6 กม.ทางรถไฟยกระดับ 5.4 กม. สะพานรถไฟ 196 แห่ง

สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 6 แห่ง ที่หยุดรถไฟ 8 แห่ง สถานีรถไฟ 15 สถานี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี หรือ 48 เดือน

สัญญาที่ 2 ช่วงตาก-แม่ละเมา ระยะทางรวม 34.025 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 24.5 กม. ทางรถไฟยกระดับ 9.5 กม.อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง 15.5 กม. สถานี 1 สถานี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

สัญญาที่ 3 ช่วงแม่ละเมา-แม่สอด ระยะทางรวม 32.995 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 22.8 กม.ทางรถไฟยกระดับ 10.2 กม. สะพานรถไฟรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 1 แห่ง

อุโมงค์รถไฟ 3 แห่ง14.2 กม. สถานี 3 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

แนวเส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดทาง 1.000 เมตร มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตาก

แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง รวมระยะทาง 250 กม. จำนวน 29 สถานี ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 นครสวรรค์–กำแพงเพชร–อำเภอเมือง จังหวัดตาก ระยะทาง 183 กม.มีจุดเริ่มต้นที่สถานีปากน้ำโพ โดยแนวเส้นทางแยกออกจากทางรถไฟเดิมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ จำนวน 24 สถานี

โดยมี15 สถานี 8 ที่หยุดรถไฟ เช่น สถานีบึงเสนาท, สถานีบ้านมะเกลือ, สถานีมหาโพธิ, สถานีเก้าเลี้ยว, สถานีวังแขม, สถานีกำแพงเพชร, สถานีตาก ฯลฯ มีย่านกองเก็บสินค้า (CY) 2 แห่ง ที่สถานีหนองปลิงและสถานีหนองบัวใต้

ช่วงที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดตาก - อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระยะทาง 67 กม. มีจุดเริ่มต้นที่สถานีตาก มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีด่านแม่ละเมา, สถานีแม่ปะ, สถานีแม่สอด และสถานีด่านแม่สอด มีจุดสิ้นสุดโครงการที่แม่สอด

นอกจากนี้มีรูปแบบเป็นโครงสร้างอุโมงค์ 4 แห่ง ระยะทางรวมประมาณ 29.7 กม. ประกอบด้วย 1. อุโมงค์ดอยรวก ความยาว 15.5 กม. 2.อุโมงค์ด่านแม่ละเมา 1 ความยาว 1.4 กม.

3.อุโมงค์ด่านแม่ละเมา 2 ความยาว 0.8 กม. และ 4. อุโมงค์ดอยพะวอ ความยาว 12.0 กม. มีย่านกองเก็บสินค้า(CY) และศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 1 แห่ง ที่สถานีด่านแม่สอด

 

ด้านการเวนคืนที่ดินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ประมาณ 9,838 ไร่ (เขตทางกว้าง 50 เมตร) จะเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน) ภายในเดือนกรกฎาคม 2568 – มิถุนายน 2569

ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมขอใช้พื้นที่กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ และหน่วยงานอื่น ๆ ภายในเดือนมกราคม 2569 – ธันวาคม 2570

สำหรับการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 สัญญา ดังนี้ สัญญาที่ 1 ช่วงนครสวรรค์-ตาก ระยะทางรวม 183 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 177.6 กม.ทางรถไฟยกระดับ 5.4 กม. สะพานรถไฟ 196 แห่ง

สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 6 แห่ง ที่หยุดรถไฟ 8 แห่ง สถานีรถไฟ 15 สถานี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี หรือ 48 เดือน

สัญญาที่ 2 ช่วงตาก-แม่ละเมา ระยะทางรวม 34.025 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 24.5 กม. ทางรถไฟยกระดับ 9.5 กม.อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง 15.5 กม. สถานี 1 สถานี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

สัญญาที่ 3 ช่วงแม่ละเมา-แม่สอด ระยะทางรวม 32.995 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 22.8 กม.ทางรถไฟยกระดับ 10.2 กม. สะพานรถไฟรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 1 แห่ง

อุโมงค์รถไฟ 3 แห่ง14.2 กม. สถานี 3 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...