ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ส่งออกมันสำปะหลังไทยสะเทือน หลัง จีน เร่งผลิตเอทานอลจากถ่านหิน
24 ส.ค. 2567

ไทยส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 (ม.ค. – มี.ค.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 33,167.38 ล้านบาท หดตัว 16.39 %  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเกิดจากปริมาณการส่งออกมันเส้นลดลงเป็นหลัก ขณะที่ การส่งออกแป้งมันสำปะหลังดิบ มีมูลค่ารวม 18,116.19 ล้านบาท ขยายตัว  49.12%  แป้งมันสำปะหลังแปรรูปมีมูลค่ารวม 8,578.13 ล้านบาท ขยายตัว 4.99 % ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออก ดังนี้ มันเส้น 5,930.36 ล้านบาท ลดลง 67.90 %มันสำปะหลังอัดเม็ด 76.33 ล้านบาท ลดลง 76.21 %และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่น ๆ 466.00 ล้านบาท ลดลง 48.00 % (ที่มา: คิดค้า.com)

อย่างไรก็ตามข้อมูลจาก Global Trade Atlas ภาพรวมการส่งออกสินค้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ของโลก ในช่วงต้นปี ไทยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดโลกเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาด 18.70 % ของมูลค่าการส่งออกของทั้งโลก รองจากไทย ได้แก่ เวียดนาม ลาว สหรัฐอเมริกา และ จีน

ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดไปตลาดจีนถึง 48.00 % ของมูลค่าการส่งออกจากไทยไปโลก และไทยเป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอันดับหนึ่งของจีน ไทยมีส่วนแบ่งตลาด  48.87%  ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดของจีน) ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญอื่น ๆ ของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย 12.82 %ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปโลก ญี่ปุ่น 9.99% ไต้หวัน  5.44และมาเลเซีย 3.73%

ล่าสุดรัฐบาลจีนมีโครงการผลิตเอทานอลจากถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก (แปลงถ่านหินเป็นเอทานอลได้)กำลังผลิต 500,000 ตัน/ปี ซึ่งได้เริ่มดำเนินการทดลองในเมือง อวี้หลิน มณฑลส่านซี จะส่งผลให้ความต้องการใช้พืชผลทางการเกษตรเช่น ข้าวโพด อ้อย หรือมันเส้นเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลลดลง  ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลจากถ่านหินของจีน เป็นยุทธศาสตร์ในการแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าพลังงานจากต่างประเทศ

“พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ “ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)  กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า   สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากถ่านหินของสาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาพืชเศรษฐกิจในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้จีนเร่งพัฒนาการผลิตเอทานอลโดยใช้ถ่านหินซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากในจีน  โดยจีนเริ่มมาตั้งแต่ปี 55 และปัจจุบันผลิตได้กว่า 1 ล้านตันต่อปี   หวังลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวโพดและมันสำปะหลังจากต่างประเทศ มาผลิตเป็นเอทานอล

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนความต้องการใช้เอทานอลจากถ่านหินของจีนมีด้วยกันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการในการแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงาน ด้วยขนาดประชากรที่มากเป็นอันดับต้นของโลก และจากขนาดเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้จีนมีความต้องการด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจำเป็นต้องแสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือก ซึ่งจีนมีปริมาณถ่านหินสำรองในประเทศเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่การลดการใช้ถ่านหินในประเทศ เพื่อลดมลพิษของจีน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนหันมาพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากถ่านหินอย่างจริงจัง รวมถึงนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลจากถ่านหินของรัฐบาล และการกำหนดนโยบายที่ช่วยสร้างอุปสงค์ของเอทานอลจากถ่านหินภายในประเทศ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ประกาศเป้าหมายชัดเจนในการผลักดันเชื้อเพลิงชีวภาพ E10 สู่ตลาดยานยนต์ภายในประเทศ 

แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากถ่านหินของจีนจะก้าวหน้าไปมาก แต่การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) สามารถลดต้นทุนการผลิต ให้สามารถแข่งขันได้กับการผลิตเอทานอลจากข้าวโพดและมันสำปะหลังนั้น ยังต้องใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนา ที่ผ่านมา จีนนำเข้ามันสำปะหลังเส้นจากไทยเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากถ่านหินของจีนเพื่อลดแรงกดดันต่ออุปทานพืชอาหาร สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และลดการพึ่งพาการนำเข้า จะทำให้ความต้องการนำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อใช้ผลิตเอทานอลของจีนอาจลดลงในอนาคต รวมทั้งหากจีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดการประหยัดต่อขนาด และมีราคาที่แข่งขันได้เมื่อเทียบกับการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบทางการเกษตร อาจทำให้เอทานอลจากถ่านหินเข้ามาแทนที่เอทานอลที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อราคาเอทานอลในตลาดโลก และราคาขายเอทานอลในประเทศของไทยได้ในที่สุด

“จากแนวโน้มดังกล่าว หากในอนาคตจีนลดการนำเข้ามันสำปะหลังลง ไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัว แสวงหาตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดการพึ่งพาตลาดหลักเพียงตลาดเดียว รวมถึงขยายฐานการตลาดไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้มันสำปะหลังในประเทศไทย โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม อาทิ ผลิตเม็ดไบโอพลาสติก และอาหารสุขภาพ ที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง การส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น” นายพูนพงษ์กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...