ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
ชาวบ้านถามเมืองพัทยายุคใหม่ เห็นแต่สานงานใหม่ ปัญหาโครงการค้างเก่ายังถูกทิ้งซากขาดความคืบหน้า
17 ก.ย. 2567

ชาวบ้านถามเมืองพัทยายุคใหม่ เห็นแต่สานงานใหม่ ปัญหาโครงการค้างเก่ายังถูกทิ้งซากขาดความคืบหน้า ชี้แจงแนวทางแก้ไข

หลังจากที่คณะทำงานชุดใหม่ของเมืองพัทยา ภายใต้การนำของนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา เข้ามาดำรงตำแหน่ง ปัญหาหนักหน่วงที่ถามโถมเข้าใส่คณะทำงานกลุ่มนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการขุดเจาะถนนหนทาง ปัญหาการจราจร และน้ำท่วมขัง ซึ่งแม้ในช่วงหาเสียงจะมีการชูเป้าหมายว่าจะแก้ไขให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว สุดท้ายทุกวันนี้แม้หลายโครงการจะดำเนินการผ่านพ้นไปแล้ว แต่ก็อีกไม่น้อยที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จากปัญหานานับประกาศไล่ตั้งแต่การยกเลิกค่าปรับผู้รับจ้างจากปัญโรคโควิด-19 ระบาด ทำให้หลายโครงการล่าช้าไปกว่าแผนที่กำหนดและทำสัญญาประชาคมกับประชาชนไว้ ที่สัญญาปัจจุบันแม้หลายเส้นทางจะขุดเจาะปรับผิวจราจรใหม่ไปแล้ว สุดท้ายก็ต้องมีการขุดเจาะเพื่อวางระบบ อย่างโครงการสายไฟฟ้าลงดินบนถนนพัทยาสาย 3 เป็นต้น ที่ทุกวันนี้ขุดกันตลอดแนวจนแทบจะไม่เหลือสภาเมืองท่องเที่ยวหลัก EEC

ขณะที่โครงการเก่าๆที่แก้ไขมานานจนถึงปัจจุบันก็ยังคาราคาซังและยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อยว่าแนวทางแก้ไขจสรุปแล้วจะเสร็จสิ้นสมตามปรารถนาเมื่อไหร่ อย่าง โครงการคลองพัทยาใต้ ที่ยังคงมีปัญหาน้ำเน่าเสีย การบุกรุกที่สาณรณะ การก่อสร้างสะพานข้าวแนวคลองโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ ไม่นับรวมกับปัญหาการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่าง อาคารในพื้นที่วอล์คกิ้งสตรีท ที่มี มติ ครม. ให้รื้อถอนแต่ก็พบว่าทุกวันนี้ยังมีการก่อสร้างต่อเติมให้เห็นโดยตบอด หรือมีการสร้างอาคารใหม่แทนหลังเก่า นี่ยังมีให้พบเห็นอีกมากมายทั้งการบุกรุกที่ดินสาธารณะ อาคารก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตในโซนพัทยาเหนือ กลาง ใต้ นาเกลือ หรือมหากาพย์อย่างบ้านสุขาวดี ที่หลายคำสั่งที่ยังไม่ได้เข้าไปบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นับรวมกับโครงการเพ้อฝันอย่าง รถไฟฟ้าโมโนเรล การแก้ไขปัญหารถสองแถวที่ คสช.เคยปรับแก้ไว้ได้เป็นอย่างดี ทุกวันนี้สภาพกลับมาเป็นเหมือนอดีตทุกประการ อาคารท่าเรือพัทยาใต้ที่สร้างมาจนพังก็ยังไม่เปิดใช้งาน หรือโครงการยักษ์อย่าง ที่จอดเรือหน้าท่าพัทยาใต้ในงบหลายร้อยล้านบาท ซึ่งอ้างว่าโครงการไม่สามารถเปิดใช้งานได้เพราะประสพภัยธรรมชาติอย่าง “พายุหว่ามกว๋อ” จนถูกทิ้งซากโครงการที่มาจากภาษีประชาชนจำนวนมหาศาลทำร้ายความรู้สึกเสียดายต่องบปราณของแผ่นดิน ที่สำคัญชาวบ้านอย่างเราๆยังคงสงสัยว่าโครงการท่าเรือออกแบบอย่างไรที่ไม่สามารถรองรับมรสุมได้ ทั้งๆที่มีการศึกษาวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญและโครงการอยู่ในทะเลแท้ๆแต่กลับคิดไม่ออกที่สำคัญไม่เคยถามความคิดเห็นจากผู้ประกอบการเรือว่าที่แนวคิดเห็นและเสนอแนะรูปแบบโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง สุดท้ายกลับ “มหากาพย์” อย่าง “วอร์เตอร์ฟรอนด์” ซึ่งแม้เมืองพัทยาจะมีอำนาจจรื้อถอนแล้ว ด้วยอาคารปลูกสร้างไม่ตรงแบบและพื้นที่ที่กำหนด แต่ก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ มีการคำกล่าวอ้างว่าทำได้เพียงแต่รอคำตอบจากรมที่ดินจะออกมาสรุปว่าที่ดินแปลงนี้สมควรเพิกถอนสิทธิ์หรือไม่ ตามคำเสนอสอบถามความเห็นจาก ปปช.เนื่องจากอยู่ที่ดินแปลงนี้นับว่าถูกแบ่งแยกโฉนดออกมาในแปลงเดียวกับโฉนดใกล้เคียงที่ศาลพิพากษาไปแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการอุทธรณ์เจ้าของกรรมสิทธิ์อย่าง “บ.อาชาแลนด์”

ผ่านพ้นมาแล้วกว่าครึ่งทางประชาชนคงตั้งตารอการแถลงผลงานของคณะทำงานชุดนี้ว่าจะมีคำชี้แจงเพื่อสร้างความตระหนักหยั่งรู้ในกับประชาชนอย่างไร ที่สำคัญการถูกยกให้เป็นเมืองหลวงด้านการท่องเที่ยวของ EEC นั้นนอกจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดในระยะเวลากันใกล้ จนถึงทุกวันนี้ทำอะไรกันไปบ้างแล้ว....


หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...