ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
จีอาร์ดี แคททาลิสต์ จับมือ วีระสุวรรณ สร้างอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับของประเทศไทย
17 ก.ย. 2567

จีอาร์ดี แคททาลิสต์ จับมือ วีระสุวรรณ ก่อตั้ง Thailand Catalyst Consortium เพื่อสร้างอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับของประเทศไทย ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ

วันที่ 17 กันยายน 2567 ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท จีอาร์ดี แคททาลิสต์ จำกัด (GRD Catalyst Co., Ltd.) และบริษัท วีระสุวรรณ จำกัด (Verasuwan Co., Ltd.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง Thailand Catalyst Consortium การค้าร่วมตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีประเทศไทย
โดยภายใต้วัตถุประสงค์ของความร่วมมือนี้ดังกล่าว ทั้งสองบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมในการใช้งานตัวเร่งปฎิกิริยาเคมีและตัวดูดซับ (Catalyst and Adsorbent) โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี แต่ยังตอบสนองความต้องการไปถึงอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรม และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีความต้องการการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวดูดซับดังกล่าว โดยทั้งสองบริษัทใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การผลิตในระดับอุตสาหกรรม (Commercialized Scale) ในการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวดูดซับที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหรือดูดซับผลิตภัณฑ์เป้าหมาย (Target Product) ที่ดำเนินการภายใต้กระบวนการทางเคมีให้เพิ่มขึ้น เพื่อลดการใช้พลังงานระหว่างกระบวนการผลิต

ดร. ก้องเกียรติ สุริเย CEO บริษัท จีอาร์ดี แคททาลิสต์ จำกัด กล่าวภายหลังการลงนามร่วมว่า “ทั้งสองบริษัทมุ่งหวังที่จะผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวดูดซับที่มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างกระบวนการผลิตที่ต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้การจัดตั้งกิจการค้าร่วมดังกล่าวนี้ในการพยายามลดการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับจากต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันตลาดตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวดูดซับในประเทศไทยมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้การค้าร่วมนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับของประเทศไทย
ด้าน ดร.สัญญา บุญญาสุวัฒน์ CEO บริษัท วีระสุวรรณ จำกัด กล่าวเสริมว่า การลงนามใน MOU นี้เป็นการกระตุ้นให้องค์กรการศึกษา สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยภายในประเทศมีการพัฒนางานวิจัยด้านตัวเร่งปฎิกิริยาเคมีและตัวดูดซับเคมีอย่างจริงจัง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานจริงและตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในเมืองไทย
ทางด้าน ดร.แสวง บุญญาสุวัฒน์ คณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสักขีพยาน กล่าวว่า ยินดีกับการก่อตั้งกิจการค้าร่วมครั้งนี้ ถือเป็นการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีในเชิงอุตสาหกรรมที่มีอยู่มาใช้ในการเปลี่ยนทรัพยากรในประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเคมีในประเทศ
ในการร่วมลงนามข้อตกลงดังกล่าวได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศิริพร จงผาติวุฒิ และ ผศ.ดร.อุทัยพร สุริยประภาดิลก อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศ.ดร.ตะวัน สุขน้อย และ รศ.ดร. กิตติศักดิ์ ชูจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในงานนี้ด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...