เสนอรัฐเร่งเดินหน้าความตกลงดิจิตอลอาเซียนดึงเม็ดเงินลงทุนกว่า60ล้านล้านบาท มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้างฐานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี่ เสริมทักษะเอไอ ยึดแนวทางGreen-ESG
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์( FKII Thailand)เปิดเผยวันนี้ว่า สถาบันเอฟเคไอไอ.ได้จัดกิจกรรมการสนทนาวาระประเทศไทย( FKII NATIONAL DIALOGUE )เพื่อนำประเด็นที่เป็นความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันและอนาคตมาวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศในหัวข้อ“อนาคตปัญหาประเทศไทย” โดยจัดร่วมกับสถาบันทิวา มีผู้ร่วมการสนทนาแลกเปลี่ยน(Dialogue) ได้แก่ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานเอฟเคไอไอ.
นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (ท็อป-จิรายุส) ดำเนินรายการโดย นางสาวนวรัตน์ สัมพันธ์ศรี หัวหน้าคณะทำงานคณะกรรมการขับเคลื่อนเอฟเคไอไอ.ทั้งนี้ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร
ในกิจกรรมการสนทนาดังกล่าว
ท็อป-จิรายุส ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการเข้าร่วมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum; WEF) ณ เมืองดาวอส ซึ่งมีผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนักธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่า 5 Billion USD รวมกันประมาณ 3,000 คน ซึ่งในประเทศไทยผู้ที่ได้เข้าร่วมก็จะบริษัทใหญ่ ๆ ได้แก่ CP, ThaiBev, PTT,SCG, KBank เป็นต้น ซึ่งใน WEF มีการพูดถึงเรื่อง ESG หรือ Environment, Social, และ Governance ที่เป็นกระแสของโลกในอนาคตที่จะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (2030) ซึ่งทุกๆ กิจการโดยเฉพาะ SMEs ต้องทราบและเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากจะทำให้ไม่สามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เพราะกระบวนการการผลิตที่ไม่สามารถแจกแจงปริมาณการปล่อยคาร์บอนหรือมีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลก นอกจากนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่ยินดีปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลกตลอดทั้งซัพพลายเชนเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจของผู้ที่ไม่ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจตามเทรนด์โลก
แนวทางการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเล็ก ๆ ได้แก่ การรวมกลุ่มทางภูมิศาสตร์และการค้า (Regionalization) เพื่อเพิ่มขนาดของเศรษฐกิจและประชากร (จาก 67 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน) ซึ่งในภูมิภาค ASEAN กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ DEFA (2025) หรือ Digital Economy Framework Agreement ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงนี้ได้ประมาณ 60% จะสามารถดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้กว่า 2 Trillion USD ดังนั้น ประเทศใดมีความพร้อมมากกว่าก็มีโอกาสที่จะดึงเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวได้มากกว่ากัน นอกจากนี้ ยังเป็น ASEAN Single Window, Free Flow for People และ Regional Money
อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะไม่มีอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากหยุดเติบโตแล้ว และเน้นแข่งขันด้านราคา (Red Ocean) ในอนาคตจะขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) Deep Tech, Digital Infrastructure บนอุตสาหกรรม Frontier Technology ได้แก่ AI, Big Data, IoT, Block Chain, 3D Printing ฯลฯ
ผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อประกาศใช้ Net Zero ในปี 2030
-กองทุนต่าง ๆ จะไม่สามารถเข้าไปถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ Green ไม่ได้ ดังนั้น บริษัทและ Supplier ทั้งหมดต้อง Green ทั้งประบวนการ
-บริษัทที่ไม่ปรับตัวเข้าสู่ Green จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้บริษัทที่ไม่ Green
-บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เดิมเป็น SET กับ MAI แต่ในอนาคตจะเป็น ESG กับ Non-ESG
เทคโนโลยี AI จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คนต้องมีความสามารถในการสื่อสาร (Prompt) กับ AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Ask the right Question) ดังนั้น จำเป็นที่จะต้อง Up-Skill / Re-Skill ในรูปแบบ Open Education Platform ตามความสะดวกของผู้เรียน
เรื่องการศึกษา เสนอว่าให้มีกระบวนการ Build Character ให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากคนไทยมีความ Creativity สูงอยู่แล้ว จึงควรส่งเสริมให้พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ ควรส่งเสริมด้าน Soft Skill (การสื่อสาร การเข้าร่วมกิจกรรม) และผลักดันเรื่อง Blue Ocean Competition.
สำหรับสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation)เป็นองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise)ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศรวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนภาครัฐทั้งในและต่างประเทศทางด้านนวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพใหม่ของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ของโลกปัจจุบันและอนาคต.
ติดตาม FKII Thailand