ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ย้อนกลับ
บจท.1 จัดบรรยาย รู้ลึกตลาดจีนและเศรษฐกิจจีน พร้อมวิเคราะห์ศึกเลือกตั้งอเมริกาใครมาจีนได้ ใครไปจีนเสีย
02 พ.ย. 2567

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 หลักสูตร”ผู้บริหารธุรกิจไทย-จีน” หรือ บทจ. รุ่น1 ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ภายใต้ความร่วมมือจากหอการค้าไทย-จีน และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย โดยมีรายการ จับจ้องมองจีน และ China Media Group ของจีน เป็นผู้ร่วมสนับสนุน ได้เรียนเชิญ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อ “รู้ลึกตลาดจีนและเศรษฐกิจจีน” โดยจัดขึ้น ณ รร.ดิเอมเมอรัลด์ รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

ซึ่งนับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ 75 ปีที่แล้ว จีนบรรลุความก้าวหน้าในด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่อโลก จีนมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีที่ 8.9%ระหว่างปี 1979-2024 ซึ่งสูงกว่าอัตรา 3% ของเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลาเดียวกัน จากข้อมูลของธนาคารโลก ในปี 2023 รายได้รวมประชาชาติต่อหัวของจีนสูงถึง 13,400 ดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงจากประเทศที่มีรายได้ต่ำในช่วงปีแรกๆของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจัยในการพัฒนาประเทศให้ประสบความสำเร็จวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 7 ด้าน อันประกอบด้วย

1. การขนส่ง ทั้งทางบกคือการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ทางเรือคือมีเมืองท่าที่สำคัญระดับโลกทั้งเซี่ยงไฮ้ หนิงโป เซินเจิ้นฯ ทางอากาศคือมีสนามบินทุกเมืองใหญ่และเกือบทุกเมืองในประเทศ

2. การสื่อสาร ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จีนใช้พัฒนาประเทศ

3. ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจุบันจีนมีกลุ่มผู้บริโภคในกลุ่ม GEN Z (อายุ 12-27 ปี) และอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก เนื่องจากมีประชากรในกลุ่มช่วงอายุ 280 ล้านคน

4. การพัฒนาด้านการเงิน เป็นจุดที่จีนอ่อนแอที่สุด เนื่องจากไม่เปิดเสรีทางการเงิน

5. การพัฒนาเทคโนโลยี ปัจจุบันจีนมีเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงมนุษย์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพนาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีข้อมูล

6. ความต่อเนื่องในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจีนให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง เน้นด้านสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม

7. ความมั่นคงทางการเมือง

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจีน(ภายใน) เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจสามประเภท คือ เศรษฐกิจจากขนาด เศรษฐกิจจากความเร็ว (เพื่อการจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพ) และเศรษฐกิจจากขอบเขต เพื่อแทนที่”สามสิ่งเก่า”(เครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า) ด้วย “สามสิ่งใหม่” (รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ใหม่ เซลล์พลังแสงอาทิตย์)

พลวัตของการพัฒนาเศรษฐกิจโลก จีนจะเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก เป็นห่วงโซ่อุปทานโลก จะย้ายฐานการผลิตไปทั่วโลกอย่างจริงจัง มุ่งสู่ภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว 9 เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวเข้าจีนถึง 95 ล้านคน และในด้านอาหาร มีแบรนด์อาหารจีนขยายไปทั่วโลกและในประเทศเองเพิ่มขึ้น ด้านเอนเทอร์เทนเม้นต์ รัฐบาลจีนส่งเสริมภาพยนตร์ที่ให้ความสำคัญกับครอบครัว เช่น”หลานม่า”ภาพยนตร์ไทยที่กวาดรายได้ในจีนอย่างมหาศาล ด้านกีฬา ด้านดิจิทัล ด้านสุขภาพ ด้านนวัตกรรม เช่นการผลิตรถยนตร์ไฟฟ้า ดาวเทียมที่มีเพดานต่ำ เป็นต้น.

จากนั้น วันเดียวกันมีการเสวนา หัวข้อ”ใครมาจีนได้ ใครไปจีนเสีย” วิเคราะห์ศึกเลือกตั้งอเมริกา โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, คุณอรุณ เอี่ยมสุรีย์ประธานสถาบันเศรษฐกิจและการลงทุนไทย-จีน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณชิบ จิตนิยม สมาชิกวุฒิสภา รองประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ เลขาธิการสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 ท่านมองว่าในครั้งนี้ ไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไปก็จะไม่เป็นผลดีกับจีน โดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนที่ทั้ง TRUMP และ HARRIS มีแนวทางใกล้เคียงกัน คือดึงการลงทุนออกจากจีนมากขึ้น ลดภาษีให้บริษัทสัญชาติอเมริกันเกิน 50% หากย้ายฐานกลับมา ด้านการค้าระหว่างประเทศ นโยบายของTRUMP อาจจะกดดันจีนมากกว่า แต่เนื่องจากเป็นนักธุรกิจ ผลประโยชน์มาสำคัญ หากมีการเจรจาเรื่องการค้าและเป็นผลได้กับอเมริกา TRUMP น่าจะคุยได้ง่ายกว่า อีกเรื่องคือการกีดกันด้านเทคโนโลยี อเมริกาเป็นที่หนึ่งด้านนี้คงไม่ยอมให้จีนแซงหน้าขึ้นมาเป็นที่หนึ่งของโลก

สุดท้ายผลกระทบกับไทยและอาเซียนคงเกิดขึ้น เนื่องจากทั้งจีนและอเมริกามองออกว่าอาเซียนเป็นประตูการค้าที่สำคัญในแถบนี้ แล้วคงช่วงชิงความได้เปรียบและเชื่อมกับอาเซียนทั้งคู่อย่างแน่นอน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมส่งออก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...