ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีอีเร่งเครื่อง จัดทำ“บิ๊กดาต้า” บูรณาการสู่คลังสมองแห่งชาติ
16 มี.ค. 2561

ดีอี เร่งจัดโมเดล "บิ๊ก ดาต้า" เชื่อมโยงข้อมูลข้ามกระทรวง เป้าหมายแรกเน้นโจทย์ใหญ่ 3 ด้าน  สาธารณสุข การท่องเที่ยว และอุตุนิยมวิทยา หวังใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการบูรณาการคลังสมองชาติ

ทั้งนี้ปะเด็นดังกล่าว  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รับหน้าที่เป็นแม่งาน ในการเร่งจัดบิ๊ก ดาต้าเชื่อมโยงข้อมูลข้ามกระทรวง โดยมีโจทย์ใหญ่ 3 ด้าน ได้แก่ สาธารณสุข การท่องเที่ยว และอุตุนิยมวิทยา หวังใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการบูรณาการคลังสมองชาติ โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันเบื้องต้นว่า กระบวนการทำอย่างจะต้องแล้วเส็จในอีก 2 เดือน และต้องเริ่มใช้งานจริง มีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับ 20 กระทรวง ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือ การเดินหน้าสร้างศูนย์ข้อมูล บิ๊ก ดาต้า สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตามองคือ บิ๊ก ดาต้า ที่จัดทำขึ้นต้อง “โอเพ่น แอ็คเซ็ส” รู้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐที่จำเป็นได้ เพื่อสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจและสังคม

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานประชุมกลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันหารือในการทำบิ๊ก ดาต้าของรัฐโดยเชิญหน่วยราชการ 20 องค์กรมาประชุมร่วมกัน โดยนายพิเชฐกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีขอให้ทุกหน่วยงานเร่งวางขั้นตอนในการทำบิ๊กดาต้า โดยให้ทุกหน่วยงานวางแผนให้ครอบคลุมการเก็บ การใช้บิ๊กดาต้า โดยศึกษาแนวทางของต่างประเทศให้ครบทุกมิติ ทั้งนี้ภายใน1-2เดือนต่อจากนี้ ต้องได้เห็นร่างแผนการทำบิ๊ก ดาต้าที่กำหนด โครงสร้างของการพัฒนาบิ๊กดาต้า,การมีดาต้าเซ็นเตอร์ และแนวทางการทำคลาวด์เซอร์วิสของแต่ละหน่วยงาน

“ปีนี้ต้องเป็นปีขับเคลื่อนบิ๊กดาต้าที่เข็มข้น มีกฏระเบียบในการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ นอกจากนี้ จะมีบิ๊กดาต้าแซนบ็อกซ์ (Big Data Sandboxes ) หรือสนามทดสอบบิ๊กดาต้าที่จะใช้ร่วมกัน แต่ยังไม่คุ้นเคยหรือยังไม่มีความพร้อมมาทดลองที่นี่ วันนี้ต้องชัดเจนในนโยบายการทำบิ๊กดาต้า และความเข้าใจทางวิชาการ นายกฯฝากมาถามหน่วยราชการว่า แต่ละหน่วยงานมีการทำบิ๊กดาต้าหรือไม่ มีดาต้าเซ็นเตอร์หรือไม่ และมีการใช้บริการคลาวด์เซอร์วิสหรือไม่อย่างไร  เราจะได้เดินไปในทางเดียวกัน"

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับการทำบิ๊ก ดาต้าและดาต้าเซ็นเตอร์ระดับจังหวัด โดยจะเริ่มคิดตั้งแต่ปีนี้และเริ่มทำในบางจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งส่วนนี้จะทำขนานกันไปกับการทำสมาร์ทซิตี้ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องตอบเรื่องนี้โดยเร็วเพราะสิ่งที่จะตามมาต่อจากนี้ คือการต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์ระดับจังหวัด 77 จังหวัด และต้องมีคลาวด์เซอร์วิสระดับจังหวัดตามมาซึ่งจะเป็นงานใหญ่ขึ้น

รัฐมนตรีดีอี กล่าวอีกว่า การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊ก ดาต้า) เป็นการสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ให้ทุกกระทรวงร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลฯ และแต่งตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ ศูนย์ข้อมูล (ดาต้า เซ็นเตอร์) และคลาวด์คอมพิวติ้ง” ขึ้น โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีปลัดกระทรวง 19 กระทรวง และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการ และกระทรวงดีอีเป็นฝ่ายเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ กำหนดโจทย์ที่มีความสำคัญเร่งด่วน ติดตามการดำเนินการบูรณาการฐานข้อมูล แก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ในครั้งนี้ จะเริ่มที่การขับเคลื่อนข้อมูลใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านสาธารณสุข ด้านการท่องเที่ยว และด้านอุตุนิยมวิทยาเพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติพร้อมรับมือภัยธรรมชาติ ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐข้ามหน่วยงานอย่างบูรณาการ เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์ภายใน 2 เดือนนับจากนี้ เพื่อประโยชน์ทั้งในการอธิบายปัญหา หรือ ปรากฏการณ์ ไปจนถึงการใช้ข้อมูลเพื่อการ “พยากรณ์” หรือ “ทำนาย” สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ถึงผลลัพธ์เรื่องต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อปรับตัวสร้างวิธีการรับมือได้อย่างทันท่วงที

สำหรับหลักการสำคัญในนโยบาย และการขับเคลื่อนบิ๊ก ดาต้าโดยทุกกระทรวง ทบวง กรม สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและผลการวิเคราะห์ สร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ ผลการดำเนินการของบิ๊ก ดาต้าเป็นลักษณะ เวิร์กกิ้ง กรุ๊ป จัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน โดยต้องจัดทำกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (ดาต้า อะนาไลติกส์) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างความชัดเจนให้ทุกกระทรวง และระบุเจาะจงบิ๊ก ดาต้าของหน่วยงานนั้นๆ โดยเริ่มจากหน่วยงานที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งจะต้องจัดระบบดาต้า เซ็นเตอร์ และระบบคลาวด์ เซอร์วิสภาครัฐ ที่จะสามารถบูรณาการข้อมูลข้ามกระทรวงกันได้ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในกระทรวงเองด้วย

"การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพจากการใช้ข้อมูลพร้อมข้อเท็จจริงในการลดความซ้ำซ้อน ประหยัดงบประมาณ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการในลักษณะต่างๆ พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบและประเมินผลได้” นายพิเชฐ กล่าว

นอกจากนั้น จะสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆของภาครัฐมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่ไม่ใช่ความลับและข้อมูลส่วนบุคคล มีลักษณะการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ มีการอัพเดตข้อมูลนาทีต่อนาที โดยหน่วยงาน องค์กร บริษัท กลุ่มสตาร์ทอัพ หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป ก็สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...