ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ย้อนกลับ
นฤมล จีบซีพี-เทนเซ็นต์ เพิ่มช่องทางออนไลน์ ขายสินค้าเกษตรไทยเข้าจีน
17 ก.พ. 2568

‘นฤมล’ รมว.เกษตรและสหกรณ์ จีบซีพี-เทนเซ็นต์ ในการหาช่องทางพัฒนาแฟลตฟอร์ม นำสินค้าเกษตรไทย ผลไม้-ข้าว-กุ้ง-หอย-รังนก ตัดพ่อค้าคนกลาง หนุนเจ้าของสวนขายออนไลน์เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 10%

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรมีแนวทางที่จะเพิ่มช่องทางขยายตลาดให้กับสินค้าเกษตรของไทยไปถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย

โดยเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯได้มีการหารือกับ เทนเซ็นต์ เจ้าของแอปพลิเคชั่นวีแซต (WeChat) ที่เข้าถึงผู้ใช้ในจีนจำนวนมาก และได้เดินทางไปจีนเมื่อต้น ก.พ. 2568 และยังได้หารือกับซีพีในเรื่องของการร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยในประเทศจีน เพื่อร่วมผลักดันราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น ให้ห่วงโซ่สินค้าเกษตรตั้งแต่ผลิตไปถึงผู้บริโภคมีราคา

“กระทรวงเกษตรฯ อยากให้ซีพีกับเทนเซ็นต์ ร่วมทำงานด้วยกัน คิดโมเดลในการเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าเกษตรไทยเข้าไปในตลาดจีน ซึ่งเอกชนทั้ง 2 รับไปศึกษาและแสดงความสนใจ ทั้งนี้ เป้าหมายต้องการที่จะเพิ่มรายได้ให้เกษตรอีกประมาณ 10% จากรายได้ในปัจจุบัน ซึ่งเบื้องต้นที่จะทำน่าจะเป็นสินค้าที่จะเริ่มขายผ่านแฟลตฟอร์มได้ ได้แก่ ผลไม้ ข้าว ประมง อาทิ กุ้ง หอย รังนก เป็นต้น”

ทั้งนี้ ปัจจุบันเกษตรกรไทยมีรายได้ ในภาคเกษตรหลังหักต้นทุนแล้วประมาณ 8.9 หมื่นบาท/ครัวเรือน/ปี อยากให้เอกชนอย่างซีพีและเทนเซ็นต์ มาร่วมพัฒนาแฟลตฟอร์ตธุรกิจ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะป้อนสินค้าคุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยมที่ผู้บริโภคจีนต้องการให้ส่งจากฟาร์มให้ถึงมือผู้บริโภคจีน โดยตัดพ่อค้าคนกลางออกไป ให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็น 1.1-1.2 แสนบาท/ปี ให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีขึ้น แต่ไม่ได้ลดกำไรของแฟลตฟอร์มลงแต่อย่างใด อนาคตอาจเห็นสินค้าเกษตรไทยไปขายในวีแซตที่จีน

นางนฤมลกล่าวว่า ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากระทรวงเกษตรฯ ในฐานะผู้ผลิตก็ก้มหน้าก้มตาผลิต ส่วนหน่วยงานที่ทำตลาดก็เป็นกระทรวงพาณิชย์ ที่เวลาไปโปรโมตสินค้าก็จะทำร่วมกับเอกชนผู้ส่งออก เป็นการทำธุรกิจแบบ B2B (Business-to-Business) เป็นการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แฟลตฟอร์มในการขายสินค้า ของกระทรวงพาณิชย์ก็เป็น B2B ส่งผลให้แม้ขายสินค้าเกษตรได้เพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่า แต่รายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้ตกมาถึงเกษตรกรผู้ผลิต

เพราะฉะนั้นการส่งออกจำนวนมหาศาล รายได้ส่วนใหญ่จาก 1.8 ล้านล้านบาทในปี 2567 เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจึงอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง กระทรวงเกษตรฯ หารือกับเอกชนแล้วจะช่วยเหลือเกษตรกร ตัดผู้ค้าคนกลางออกไป ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้พบกัน ซึ่งเป็นไปตามกระแสในปัจจุบัน ที่ตามแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตขายเอง ผู้ซื้อก็สามารถเลือกบริโภคในฟาร์มหรือสวนที่สนใจได้

โดยในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.5% จากปีก่อนหน้า เป็นการสร้างสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 3 ปี และแนวโน้มปี 2568 น่าจะปรับเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ได้เป็นปีที่ 4 หากรวมสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท ในจำนวน 1.8 ล้านล้านบาทที่เพิ่มขึ้น กระทรวงเกษตรฯ อยากให้มาเพิ่มในส่วนของรายได้ให้เกษตรกร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
13 ม.ค. 2568
ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์ (thaibizsingapore.com) ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 8 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของสิงคโปร์ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ปริมาณการค้าไทย-สิงคโปร์ ปี 2565 มีมูลค่ารวม 644,383 ...