ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กรมทางหลวง ลุยสร้าง 'สะพานกลับรถเคเบิ้ล' ไร้เสาตอม่อ ถนนมิตรภาพ
20 มี.ค. 2568

กรมทางหลวง เตรียมสร้าง "สะพานกลับรถเคเบิ้ล" นวัตกรรมใหม่ "ไร้เสาตอม่อ" บนถนนมิตรภาพ ยกระดับมาตรฐานทางหลวงไทย ลดอุบัติเหตุจากการชนเสาตอม่อกลางถนน

"กรมทางหลวง" เตรียมสร้าง "สะพานกลับรถเคเบิ้ล" นวัตกรรมใหม่ "ไร้เสาตอม่อ" บนถนนมิตรภาพ ยกระดับมาตรฐานทางหลวงไทย ลดอุบัติเหตุจากการชนเสาตอม่อกลางถนน 

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวงดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานกลับรถเคเบิ้ลแบบแนวโค้ง (Horizontal Curve Cable -Stayed Bridge) แห่งแรกของประเทศไทย บนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ณ กม.8 – กม.9 พื้นที่บ้านหลุบเลา ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

กรมทางหลวง มีสะพานรวมกว่า 17,219 แห่ง เดิมสะพานกลับรถ (เกือกม้า) ถูกออกแบบให้มีเสาตอม่อกลางถนนเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง แต่การก่อสร้างลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจราจร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง เช่น อุบัติเหตุจากการชนเสาตอม่อกลางถนน 

ด้วยความสำคัญนี้ กรมทางหลวง จึงได้พัฒนานวัตกรรมสะพานกลับรถแบบเคเบิ้ล โดยนำเทคนิคการออกแบบจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ที่จังหวัดมุกดาหาร และสะพานเคเบิ้ลในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล

สำหรับนวัตกรรมสะพานกลับรถแบบเคเบิ้ลนี้ เป็นการพลิกโฉมแนวคิดการออกแบบสะพานกลับรถแบบดั้งเดิม โดยใช้หลักการออกแบบเชิงวิศวกร รมที่ทันสมัย ให้เคเบิ้ลรับน้ำหนักแทนเสาตอม่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนัก และลดการใช้เสาตอม่อกลางถนน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจราจรและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 

ระบบเคเบิ้ลรับแรงนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง และลดอุบัติเหตุจากการชนเสากลางถนน แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพิ่มทัศนียภาพที่สวยงาม และเปิดพื้นที่ด้านล่างสะพานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

อีกทั้งโครงสร้างยังถูกออกแบบให้รองรับยานพาหนะทุกประเภท ด้วยความยาวของสะพานที่ออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชั้นดิน พร้อมรองรับการใช้งานในระยะยาว โดยคำนึงถึงความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ 

รวมถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรมทางหลวงเลือกใช้เทคโนโลยีสะพานกลับรถเคเบิ้ลสำหรับโครงการนี้ คือ ข้อจำกัดด้านกายภาพของพื้นที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเขตทางจำกัด และไม่มีพื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนเพียงพอต่อการก่อสร้างเสาตอม่อแบบปกติ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสะพานเคเบิ้ลเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและตอบโจทย์ลักษณะจำเพาะของพื้นที่ได้ดีที่สุด

ลักษณะการก่อสร้างโครงการ

สะพาน : เป็นสะพานกลับรถแบบเคเบิ้ล มีลักษณะโค้ง และมีความยาวรวมประมาณ 330 เมตร

รูปแบบ : สะพานมีรูปแบบเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร

จุดเด่น : สะพานมีการออกแบบที่สวยงาม โดยมีการติดตั้งไฟประดับ LED เพื่อเพิ่มความสวยงามในยามค่ำคืน

โครงการนี้ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 400 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2568 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน และแล้วเสร็จภายในปี 2571 สะพานกลับรถเคเบิ้ลแห่งนี้ จะเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดสระบุรี และเป็นต้นแบบให้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในอนาคต

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...