ที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ร่วมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือจัดการและตรวจจับน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา โดยมี นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา พร้อมด้วย ผู้แทนจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ผู้แทนจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชลบุรี ผู้แทนกรมชลประทาน และเจ้าหน้าที่จากสำนักช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา เข้าร่วมประชุม
สำหรับการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือจัดการและตรวจจับน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา ในครั้งนี้ ด้วยคณะเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และ Urban Risk Lab (URI.) ของสถาบันเทคโนโลยีแมสชาชูเซตส์ (MIT) ได้หารือแนวทางความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ ตลอดจนโครงการวิจัยและพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2568 ณ ทำเนียบรัฐบาล และในที่ประชุมได้มีข้อสรุปร่วมให้โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ จัดการและละตรวจจับ น้ำท่วมใน พื้นที่เมืองพัทยา เป็นพื้นที่นำร่อง และลงพื้นที่ร่วมกันเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น
โดยในที่ประชุมได้มีการสอบถามพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา รวมถึงแนวทางการจัดการเมื่อเกิดน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา ซึ่งนายกเมืองพัทยาได้มีการชี้แจงต่อในที่ประชุมว่า เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม เพื่อรอการระบายในเมืองพัทยา ในขณะนี้หลายภาคส่วนได้มีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากระดับน้ำที่ท่วมขังก็เป็นน้ำรอการระบายไม่เกิน 2 ชั่วโมงน้ำก็ลดลงแล้ว แต่อาจจะมีภาพข่าวที่ออกไปดูรุนแรง ทำให้เมืองพัทยาได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น PATTAYA CONNECT ในการเชื่อมต่อกล้องวงจรปิดจำนวน 400 จุด เพื่อให้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเขามาดูสภาพปัญหาจุดเกิดน้ำท่วมขัง รวมถึงสภาพการจราจรในช่วงเวลานั้นได้แบบเรียลไทม์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าน้ำไม่ได้ท่วมขังและนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ ซึ่งจุดนี้ถือเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือจัดการและตรวจจับน้ำท่วมในพื้นที่เมืองพัทยา ก็ถือเป้นส่วนหนึ่งที่เมืองพัทยา จะได้รับความแนะนำจากสทนช.ในครั้งนี้
ด้านดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าสในที่ประชุมว่า สทนช. มีโครงการ MOU ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในระประเทศได้ อีกทั้งบ้างส่วนของเทคโนโลยีของประเทศไทยก็อาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งเทคโนโลยีที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)มีอยู่ก็มีความต้องการที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยโดยเฉพาะเมืองพัทยาเมื่อถึงฤดูฝนจะมีภาพข่าวที่ออกไปเกี่ยวกับสภาพปัญหาน้ำท่วมหนัก ในหลายจุด อย่างถนนเลียบทางรถไฟ ส่งผลกระทบต่อการสัญจรไปมาของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งในเบื้องต้น สนทช.ได้หารือกับ MIT ในการนำเทคโนโลยีซึ่งเป็นการคาดการณ์และแจ้งเตือนล่วงหน้า ในการนำมาประยุกต์ใช้กับ CCTV ของเมืองพัทยา ซึ่งตรงกับหลักการณ์ของเมืองพัทยาที่มีการดำเนินการในส่วนของ PATTAYA CONNECT เพื่อยกระดับความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวต่อไป