ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ภาครัฐคุมเข้ม...ระบายข้าวในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม
15 พ.ค. 2561

คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ให้ความสำคัญกับการระบายข้าวในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการกำกับดูแลข้าวดังกล่าวเพื่อป้องกันการรั่วไหลเข้าสู่ระบบการค้าปกติ โดยมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก) ในฐานะคู่สัญญาและหน่วยปฏิบัติกำกับดูแลให้ผู้ซื้อนำข้าวในสต็อกของรัฐไปใช้ในอุตสาหกรรมตามที่แจ้งไว้โดยเคร่งครัด ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ดำเนินคดีตามกฎหมายจนถึงที่สุด

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต็อกของรัฐ เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้บริหารจัดการข้าวในสต็อกของรัฐที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลที่ผ่านมาปริมาณกว่า 18 ล้านตัน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบาย แผนงาน และการบริหารจัดการข้าวในสต็อกของรัฐ แต่งตั้งกรมการค้าต่างประเทศ ให้เป็นผู้ดำเนินการระบายข้าวในสต็อกของรัฐตามยุทธศาสตร์ แนวทาง วิธีการ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ นบข. ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายองค์การคลังสินค้า (อคส.) และ/หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายข้าวกับผู้ซื้อข้าวที่ชนะการประมูล

ตั้งแต่พฤษภาคม 2557 ถึงปัจจุบัน กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการทยอยข้าวในสต็อกของรัฐแล้วปริมาณ 14.84 ล้านตัน คงเหลือข้าวที่รอการระบายประมาณกว่า 2 ล้านตัน และเนื่องจากข้าวคงเหลือดังกล่าวส่วนใหญ่ตั้งกองปะปนกัน และมีข้าวบางส่วนเป็นข้าวที่ยุ่ยเป็นผุยผง เมล็ดลาย ขึ้นรา มีกลิ่นเหม็น มีฝุ่น เป็นต้น ซึ่งไม่คุ้มค่าหรือไม่อาจปรับปรุงเพื่อการบริโภคของคน คณะกรรมการ นบข. จึงได้เห็นชอบแนวทางการระบายข้าวคงเหลือในสต็อกของรัฐเข้าสู่ช่องทางที่เหมาะสมกับสภาพข้าวเพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของรัฐ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตลาดราคาข้าวและธัญพืชอื่นที่เกษตรกรได้รับ โดยแบ่งเป็น กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ ระบายเป็นการทั่วไปเพื่อการบริโภค

กลุ่มที่ ระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน

กลุ่มที่ ระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์

โดยข้าวกลุ่มที่ และกลุ่มที่ ผู้ซื้อจะต้องนำข้าวที่ประมูลได้ไปใช้ในอุตสาหกรรมตามหนังสือรับรองตนเองที่ยื่นไว้กับกรมการค้าต่างประเทศโดยเคร่งครัด ซึ่งหากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข มีการนำข้าวไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการ นบข. ได้ให้ความสำคัญกับการระบายข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำสัญญาซื้อขายข้าว การขนย้ายข้าว และนำข้าวไปใช้ในกระบวนการผลิตตามที่ผู้ซื้อมีหนังสือรับรองไว้ โดยมีกลไกในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลสู่การบริโภคของคน ดังนี้

1. ให้ อคส. และ อ.ต.ก. ในฐานะคู่สัญญาและหน่วยปฏิบัติในการดำเนินมาตรการการกำกับดูแลการนำข้าวไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้เสนอซื้อมีหนังสือรับรองไว้ ดังนี้

·         กำหนดเงื่อนไขและบทลงโทษในสัญญาซื้อขายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ชัดเจนรัดกุมในทุกกระบวนการโดยเฉพาะการแปรรูปเข้าสู่อุตสาหกรรมหากผู้เสนอซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา รวมทั้งขยายขอบเขตความรับผิดชอบของสัญญาให้ครอบคลุมผู้ซื้อทุกทอด

·         กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันการรั่วไหลของข้าวที่รัฐระบายเข้าสู่อุตสาหกรรม โดย อคส. และ อ.ต.ก. ได้จัดทำคู่มือในการดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันการรั่วไหลของข้าวที่รัฐระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมและ อคส. ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ซื้อ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมรับฟังและทำความเข้าใจในการดำเนินการระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม ขั้นตอนปฏิบัติงาน การตรวจสอบควบคุมกำกับดูแล ตลอดจนแนวปฏิบัติในคู่มือการขนย้ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม

·         กำกับดูแลการเคลื่อนย้ายข้าวที่รัฐระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมโดยเคร่งครัด

2. ให้คณะทำงานระดับจังหวัดดำเนินการตรวจสอบการนำข้าวไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานคณะทำงาน และหัวหน้าคลังสินค้า (อคส. หรือ อ.ต.ก.) เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ดำเนินการจัดระบบ การควบคุม และการตรวจสอบกระบวนการ นำข้าวไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

3. ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้าวสารในสต็อกของรัฐ กำกับดูแล ตรวจติดตามการปฏิบัติงานของ อคส. และ อ.ต.ก. ให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกันการรั่วไหลของข้าวที่รัฐระบายสู่อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อกำหนดและแผนงานที่วางไว้โดยเคร่งครัด ซึ่งที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการตรวจสอบฯ ได้มีข้อสังเกตให้ อคส. และ อ.ต.ก. เน้นการตรวจสอบให้ครอบคลุมการนำข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมของคู่สัญญา รวมทั้งผู้รับซื้อข้าวต่อทุกรายเช่นเดียวกับผู้ซื้อรายแรก ตลอดจนการปรับปรุงเงื่อนไขในสัญญาโดยขยายขอบเขตความรับผิดชอบของคู่สัญญาให้ครอบคลุมผู้ซื้อทุกทอดและการจัดอัตรากำลังและงบประมาณให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดคณะลงพื้นที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามสัญญาทั้งก่อนและหลังการทำสัญญา

เมื่อผู้ซื้อได้มีการรับมอบข้าวแล้วและนำข้าวที่ประมูลได้ไปแปรรูปหรือดำเนินการโดยวิธีการใดต้องปฏิบัติให้ได้ตามสัญญาที่ผูกพันไว้และเป็นไปตามแผนการนำข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ได้แจ้งไว้กับ อคส. และ อ.ต.ก. โดยเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่กำกับดูแลป้องกันการรั่วไหลของข้าวเข้าสู่ตลาดปกติได้ดำเนินการตามมาตรการและเข้าไปตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งหากผู้ใดมีหลักฐานการกระทำผิดเงื่อนไขในสัญญา สามารถส่งหลักฐานให้ทางราชการเพื่อดำเนินการจับกุมและดำเนินคดีทางกฎหมายตามสัญญาได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...