ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีป้า”ดัน “1 ตำบล 1 สมาร์ทลีฟวิ่ง” จัดเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ทั่วไทย
21 พ.ค. 2568

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า  ได้ เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล สมาร์ทลีฟวิ่ง ยกระดับทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่กลุ่มชุมชนและเกษตรกรทั่วประเทศ  ซึ่งต่อยอดจากโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 66  โดยโครงการในปีนี้ จะเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจริยะที่นำเทคโนโลยี มายกระดับความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้านและชุมชน

แบ่งการส่งเสริมและสนับสนุนออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1. สมาร์ทลีฟวิ่ง  ระยะเวลาการส่งเสริม 1 ปี จำนวน 40 ชุมชน มีพื้นที่เป้าหมายเป็นกลุ่มชุมชนที่อยู่ในจังหวัดที่มีเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ โดยจะได้รับการสนับสนุน 5 เทคโนโลยี ได้แก่ แทรกเตอร์การเกษตรอัจฉริยะ กล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟส่องสว่างอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ โดรนเพื่อการเกษตร และ ไอโอที การเกษตรอัจฉริยะ

ส่วน 2.  สมาร์ทลีฟวิ่ง  พลัส ระยะเวลาการส่งเสริม 1 ปี จำนวน 5 ชุมชน มีพื้นที่เป้าหมายเป็นกลุ่มชุมชนที่อยู่ในจังหวัดที่มีเมืองอัจฉริยะ โดยจะได้รับการสนับสนุน 6 เทคโนโลยี ได้แก่ แพลตฟอร์มคาร์บอนด้านการเกษตร แทรกเตอร์การเกษตรอัจฉริยะ กล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟส่องสว่างอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ โดรนเพื่อการเกษตร และ IoT การเกษตรอัจฉริยะ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่ชนบททั่วประเทศ ไม่เพียงแต่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และการเกษตรของชุมชน แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างเข้าใจ

“ ดีป้า ตั้งเป้าว่า  โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล สมาร์ทลีฟวิ่ง  จะช่วยยกระดับความรู้และทักษะด้านดิจิทัลแก่ประชาชนไม่น้อยกว่า 2,700 คนจาก 900 ครัวเรือนทั่วประเทศ และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 170 ล้านบาท ซึ่งพลังของชุมชนและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน" นายณัฐพล กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (One Tambon One Digital: OTOD) ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 66 ที่ได้ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนและเกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ยกระดับกระบวนการผลิต เริ่มจากการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร ต่อเนื่องด้วยแพลตฟอร์มเพื่อการเพาะปลูกสำหรับพืชมูลค่าสูงอย่างทุเรียน

 “ดีป้า เล็งเห็นว่า ภาคเกษตรกรรมยังคงมีบทบาทอย่างมากกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ประชากรไทยกว่า 50% หรือกว่า 30 ล้านคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตรต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง อุทกภัย ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคาผลผลิตที่ผันผวน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชุมชนและเกษตรกรไม่ได้รับส่งเสริมสนับสนุนด้านดิจิทัลที่เหมาะสมจนไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล จึงมุ่งแก้โจทย์ปัญหานี้ให้กับเกษตรกรและชุมชนทั่วไทย” นายณัฐพล กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...