ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
บอร์ดเมืองอัจฉริยะ 3 กระทรวง ชงเกณฑ์ประเมินสมาร์ทซิตี้
04 มิ.ย. 2561

โดยเมื่อไม่นานมานี้  ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 2/2561 พิจารณาเมืองอัจฉริยะใหม่ “นิยามเมืองอัจฉริยะ” และ “กรอบแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ” ของไทย 3 เลขานุการร่วมจาก 3 กระทรวง ได้กำหนดให้สมาร์ทซิตี้ (Smart City) ต้องมี 6 สาขาอัจฉริยะ หวังสร้างมาตรฐานขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ 

ขณะที่ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ในฐานะเลขานุการร่วม คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นฝ่ายเลขานุการร่วมกันทั้ง 3 กระทรวง ไปจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต โดยให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ เลขานุการร่วมทั้ง 3 กระทรวง ได้ให้คำนิยามเมืองอัจฉริยะ ไว้ได้ดังนี้ เมืองอัจฉริยะ หรือ “Smart City” หมายถึง เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือนวัตกรรม ที่ทันสมัยและชาญฉลาด ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากร การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมือง ทั้งนี้การพัฒนาเมืองต้องดำเนินการภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดรูปแบบเมืองอัจฉริยะต้นแบบ ควรประกอบด้วย 6 สาขาอัจฉริยะ  ได้แก่  เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  ระบบขนส่งและการสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Mobility)  พลังงานและสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Energy & Environment)  ระบบบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)  พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)  และ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)

ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่กำหนดเป้าหมายเมือง Smart City เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เมืองน่าอยู่ หรือสมาร์ทซิตี้เมืองเดิม 2) เมืองใหม่อัจฉริยะ โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในปีที่ 1 จำนวน 7 เมือง ปีที่ 2 จำนวน 8 เมือง และตั้งแต่ปีที่ 3-5 จำนวน 25 เมือง

 โดยเปิดโอกาสให้เมืองที่สนใจเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งต้องเริ่มจากการประเมินความพร้อมของตนเองก่อน และเข้าขั้นตอนการประเมินเมืองตามเกณฑ์ 8 ข้อ  จากนั้นจะได้เข้าสู่กระบวนการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ และใช้กลไกความร่วมมือจากการลงทุนของภาคเอกชน ร่วมกับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการสนับสนุนของภาครัฐในการให้สิทธิประโยชน์สูงสุดเพื่อดันสมาร์ทซิตี้ไทยขึ้นชั้นมาตรฐานสากลต่อไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...