ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
รังสรรค์เมนู แห่งฉะเชิงเทรา ยกระดับภูมิปัญญาสู่การรังสรรค์เมนู
08 ก.ค. 2568

โดย สำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) 
    วันนี้ 7 กรกฎาคม 2568 นางสาวฉัตรประอร นิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในพิธี เปิดกิจกรรมการแข่งขัน “รังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา” ภายใต้โครงการยกระดับภูมิปัญญาสู่การรังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ฉะเชิงเทรา 
    โดยมี ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ เชฟชุมพล แจ้งไพร กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์และประธานคณะกรรมการอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรมอาหาร, ดร.สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), นายจรงค์ศักดิ์ รองเดช พิธีกรรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง, นายดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์พิเศษด้าน Food Stylist ระดับประเทศ, รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ ดร.ดารินันท์ นันทวงค์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่และชุมชน 1 สกพอ. พร้อมภาคีเครือข่าย ปราชญ์ชุมชน และผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 30 ทีม


    ดร.จุฬา สุขมานพ เปิดเผยว่า สกพอ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ดำเนินโครงการยกระดับภูมิปัญญาสู่การรังสรรค์เมนูแห่งฉะเชิงเทรา เพื่อรวบรวมและถอดองค์ความรู้ด้านอาหารของชุมชนในพื้นที่ นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ชุมชน และต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มทั้งด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และห่วงโซ่อุปทานในภาคอาหาร โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้อาหารท้องถิ่นมีอัตลักษณ์ มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
      กิจกรรมการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.Tradition Menu : รังสรรค์เมนูต้นตำรับจากภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยเลือกจากเมนู “แกงส้มปลาอีกง” อำเภอบางปะกง หรือ “แกงส้มไหลบัวปลาสลิด” อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
2.Creative Menu : สร้างสรรค์เมนูจากอาหารอัตลักษณ์ของ 11 อำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ต้มยำกุ้ง อำเภอบางคล้า, แกงส้มไหลบัวปลาสลิด อำเภอบางน้ำเปรี้ยว, ปลาวงทอด อำเภอท่าตะเกียบ, มะม่วงน้ำปลาหวานปลาช่อนย่างแปดริ้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา, หมูหงส์ อำเภอแปลงยาว, ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ อำเภอพนมสารคาม, ข้าวต้มมัดไส้หมู อำเภอราชสาส์น, ไอศกรีมข้าวไรซ์เบอรี่ อำเภอสนามชัยเขต, แกงส้มปลาอีกง อำเภอบางปะกง, กระยาสารท อำเภอบ้านโพธิ์ และบ้าบิ่นมะพร้าวน้ำหอม อำเภอคลองเขื่อน

    การแข่งขัน กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชาชีพ, การจัดการเวลา, ความคิดสร้างสรรค์, การนำเสนอผลงาน, การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่มีการบอกเล่าเรื่องราว (Storytelling) และการรักษาอัตลักษณ์ของรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการของเมนู 
   เงินรางวัลการแข่งขันในแต่ละประเภท ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล, รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 5,000 บาท, รองชนะเลิศอันดับสอง 4,000 บาท และรางวัลชมเชย 5 รางวัล ๆ ละ 2,500 บาท รวมมูลค่ากว่า 63,000 บาท 
   ดร.จุฬา สุขมานพ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมนูที่ได้รับรางวัลจะได้รับการส่งเสริมเป็นเมนูต้นแบบประจำโรงแรมในจังหวัดฉะเชิงเทราที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมเผยแพร่สูตรอาหารผ่านสถาบันการศึกษาและช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ 

   อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานอาหารพื้นถิ่นสู่ระดับสากล เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอาหารอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ในอนาคต
นิราช/อาษา/ปรีญาภรณ์/ผู้สื่อข่าว อปท.นิวส์ ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา 0909535645

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 กรกฎาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
17 ก.ค. 2568
การแพทย์เป็นหนึ่งในระดับความสำคัญของการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษยชาติ ซึ่งนอกจากตัวนายแพทย์ผู้ทำการรักษาแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์แน่นอนย่อมมีความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปได้รวดเร็วยิ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเราแล...