ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ขนส่งเล็งปรับค่ารถเมล์ เตรียมชงขึ้น 10-15%
12 ก.ค. 2561

นายเชิดชัย สนั่นศรีสาคร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการปรับโครงสร้างค่าโดยสารรถประจำทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและสรุปรายละเอียด คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ขบ. ภายในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนส่งต่อเข้าสู่กระทรวงคมนาคมในเดือนเดียวกัน

ทั้งนี้ เบื้องต้นยอมรับว่าอค่าโดยสารปัจจุบันไม่สะท้อนและต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง เพราะต้นทุนหลายด้านสูงตามราคาตลาด ดังนั้น จึงต้องพิจารณาอัตราค่าโดยสารใหม่อย่างรอบคอบ หากต้องปรับขึ้นค่าโดยสารจะใช้อัตราแบบขั้นบันได กล่าวคือ ทยอยขึ้นค่าโดยสารไม่ให้กระทบประชาชน เช่นเดียวกับต่างประเทศ ซึ่งขึ้นค่าโดยสารรถเมล์ทุกปีตามกรอบราคาที่กำหนดร่วมกัน ส่วนที่ขาดให้ปรับปีถัดไป นอกจากนี้ ยังต้องหาแนวทางอุดหนุนผู้ประกอบการด้านอื่นด้วย เช่น ช่วยเหลือต้นทุนค่าเชื้อเพลิง

รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่า จากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนพบว่า ค่าโดยสารปัจจุบันไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งค่าเชื้อเพลิง ค่าจ้างและค่าซ่อม เป็นต้น ส่งผลให้ต้องพากันลดต้นทุนดำเนินธุรกิจเดินรถจนคุณภาพตกต่ำจนประชาชนไม่ใช้บริการไปกระทบรายได้ต่อเนื่องสุดท้ายต้องทยอยเลิกกิจการจากการศึกษา

สำหรับต้นทุนรถเมล์ปรับอากาศขนาด 12 เมตร ซึ่งในอนาคตส่วนใหญ่จะใช้รถประเภทนี้ พบว่า ค่าโดยสารในปัจจุบัน (Existing Cost) ต่ำกว่าค่าโดยสารมาตรฐานที่ควรจะเป็น (Standard Cost) ถึง 32.75% แบ่งเป็นประเภท CNG ค่าโดยสารเฉลี่ยต่อคนปัจจุบันที่ 15.80 บาท/กิโลเมตร ค่าโดยสารที่ควรจะเป็นที่ 23.49 บาท ขณะที่ประเภทเชื้อเพลิงดีเซลค่าโดยสารเฉลี่ยต่อคนปัจจุบันที่ 21.88 บาท ค่าโดยสารที่ควรจะเป็น 29.58 บาท/คน แตกต่างกัน 26% ส่งผลให้รายได้ต่อคันต่อวันต่ำกว่าค่ามาตรฐานถึง 33% จาก 7,500 บาท/วัน กลับมีรายได้ราว 5,000 บาท/วัน

อย่างไรก็ตาม การปรับราคาให้ใกล้เคียง Standard Cost ต้องมาพร้อมกับการยกระดับรถเมล์ใหม่ การติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยและคุณภาพบริการภาพรวมที่ดีขึ้น จึงมองว่าค่าโดยสารในอนาคตควรปรับขึ้นราว 10-15% จากปัจจุบันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวงการรถเมล์ตลอดจนเอื้อให้ผู้ประกอบการอยู่ได้โดยมีกำไร ทั้งนี้ จะเสนอให้รัฐบาลออกนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทางปฏิรูป 269 คัน เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษจากแบงก์รัฐเพื่อลงทุนเพิ่ม ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ให้รับรองการผลิตคัทซีและตัวถังในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการซื้อรถเมล์ใหม่ได้ทันที 40-50% จากปัจจุบันราคาคันละ 3.5-4 ล้านบาท นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมสิทธิพิเศษทางการเงิน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคลหรือสหกรณ์ เพื่อง่ายต่อการกู้เงินลงทุนเพิ่มจากสถาบันการเงิน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...