ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
อพท.น้อย ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
06 ส.ค. 2561

                อพท. ใช้มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสำหรับองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งไปสู่ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ที่รักษาสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

                 พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้กล่าวในพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย ว่า อพท. ได้จัดทำ มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) ในปี 2558 และส่งเสริมให้องค์กรที่มีบทบาทในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นนำมาตรฐานดังกล่าวไปปฏิบัติเรื่อยมานับแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 38 องค์กร จากพื้นที่ต่างๆ โดย อพท. ได้นำมาตรฐานนี้ไปอบรม ประเมินการปฏิบัติงานขององค์กร รวมทั้งจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง ซึ่งเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อให้เข้าใจในบริบทของการสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวในความดูแลขององค์กร เปรียบเสมือนหนึ่งเป็น อพท.น้อย เพื่อให้เข้าใจการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นำไปสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง

                 มาตรฐานฉบับนี้ มุ่งเน้นการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างรอบด้าน ซึ่งต้องมีการวางแผน การนำไปปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การส่งเสริมศักยภาพชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการตลาด การติดตามการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปยังเครือข่ายต่างๆ

                ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2561 สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council: GSTC) ได้ให้การยอมรับ “มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” หรือ STMS ของ อพท. เทียบเท่ากับหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับสถานที่ท่องเที่ยว (GSTC Destination Criteria) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานฉบับแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจาก GSTC นับเป็นความภาคภูมิใจของ อพท. และประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากเวทีระดับสากล

                 สำหรับปี 2561 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 องค์กร จากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดเลย ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิเศษของ อพท. สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากเกณฑ์มาตรฐาน 6 ข้อหลัก 64 ข้อกำหนด ซึ่งการผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ในครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะมาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันในการเดินทางบนมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับโลก โดย อพท. พร้อมจะเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศของไทย เพื่อนำไปสู่ “ชุมชนมั่นคง เศรษฐกิจมั่งคั่ง และทรัพยากรยั่งยืน”

รายชื่อองค์กรที่สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ของ อพท. ทั้ง 13 องค์กร

* สำนักงานพื้นที่พิเศษ 4 (อพท. 4)

1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก จังหวัดสุโขทัย

2. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สิน จังหวัดสุโขทัย

3. องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำขาว จังหวัดสุโขทัย

* สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท. 5)

4. เทศบาลตำบลเขาแก้ว จังหวัดเลย

5. เทศบาลตำบลนาแห้ว จังหวัดเลย

6. องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์ จังหวัดเลย

7. องค์การบริหารส่วนตำบลตาดข่า จังหวัดเลย

8. องค์การบริหารส่วนตำบลนามาลา จังหวัดเลย

9. องค์การบริหารส่วนตำบลนาหอ จังหวัดเลย

10. องค์การบริหารส่วนตำบลบุฮม จังหวัดเลย

11. องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ จังหวัดเลย

12. องค์การบริหารส่วนตำบลเลยวังไสย์ จังหวัดเลย

13. องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากอหก จังหวัดเลย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...