ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีป้า จับมือ 6 หน่วยงานร่วมมือพัฒนา โครงการประกันภัยพืชผลเพื่อเกษตรกรไทย
16 ส.ค. 2561

โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 61 ที่ผ่านมา ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้พร้อมใจกันลงนามร่วมมือพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลการเกษตรของประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี

โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการวิจัยนี้ มีระยะเวลา 3 ปี และมีจุดประสงค์เพื่อให้หน่วยงานทั้ง 6 ฝ่าย ร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลการเกษตรที่เหมาะสม และครอบคลุมเกษตรกรส่วนใหญ่ทั่วประเทศไทย ตลอดถึงศึกษาบทบาทที่เหมาะสมของภาครัฐในการผลักดันการพัฒนาตลาดประกันภัยพืชผลที่ยั่งยืนของประเทศ และร่วมกันนาระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่พัฒนาไว้ไปทดลองใช้จริงในพื้นที่นำร่องกับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะนำมาซึ่งองค์ความรู้และงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ และเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมในการนำไปใช้จริงในวงกว้างทั่วประเทศต่อไป

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ครัวเรือนเกษตรกรไทยต้องประสบปัญหาและความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ซึ่งล้วนแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดความเปราะบาง และเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรไทย การพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลเพื่อเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีประกันภัยข้าวนาปีมาตั้งแต่ปี 2554 แต่อาจยังมีอุปสรรคเพราะขาดแคลนข้อมูลความเสี่ยงที่ถูกต้องของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งส่งผลให้ผู้ให้บริการทางการเงินไม่สามารถคิดอัตราเบี้ยประกันที่สะท้อนความเสี่ยงจริงได้ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับเกษตรกร

ตลอดถึงยังมีอุปสรรคในการประเมินความเสียหายรายเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทำให้การจ่ายค่าสินไหมอาจล่าช้าและไม่ครอบคลุมความเสียหายจริง ซึ่งส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์อาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินของเกษตรกร ในอดีตจึงมีเกษตรกรสมัครใจจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย เพื่อเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลเป็นส่วนน้อย ต้องพึ่งพิงการอุดหนุนจากภาครัฐ และขาดการพัฒนาที่ยั่งยืนของระบบตลาด

โครงการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาฐานข้อมูลภาคเกษตร โดยจะเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกันในระดับแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร โดยนำข้อมูลทางภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เช่น ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ตลอดถึงการเก็บข้อมูลการเพาะปลูกและเสียหายรายแปลงด้วยวิธี Crowd sourcing โดยใช้ Mobile application มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและประเมินความเสียหายของพื้นที่เพาะปลูกจากภัยธรรมชาติ

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบได้ในระดับแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร เป็นบริเวณกว้างและรวดเร็ว รวมถึงสามารถนำมาสร้างข้อมูลและสถิติความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย ที่ถูกต้อง โปร่งใส และครอบคลุมระยะเวลายาวนาน ทั่วประเทศไทยได้ ซึ่งข้อมูลความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพดังกล่าว เมื่อถูกเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ในรายเกษตรกร จะสามารถนำมาออกแบบและคิดราคาระบบประกันภัยที่เหมาะสมและหลากหลายให้เกษตรกร ตลอดถึงศึกษาบทบาทที่เหมาะสมและมุ่งเป้าของภาครัฐที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบตลาดที่ยั่งยืนได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...