ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สางปม“ภูทับเบิก”วันนี้ได้แค่จัดระเบียบ
04 ม.ค. 2559

สางปม“ภูทับเบิก”วันนี้ได้แค่จัดระเบียบ
          ผู้สื่อข่าวรายงาน ความคืบหน้า กรณีรัฐบาลและ คสช.สั่งจัดระเบียบ“รีสอร์ตภูทับเบิก”ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ที่เกลื่อนภู ไร่กะหล่ำ และยังคงเปิดให้บริการรับนักท่องเที่ยวจะทั่วสารทิศไม่ขาดสาย แม้ว่าราคาอาหาร-ที่พัก จะแพงจนถูกวิพากษ์วิจารณ์ทุกครั้งในห้วงหยุดยาว เช่น ส้มตำ ขั้นต่ำต้องมี 50 บาท , ลาบอีสานเกิน 100 บาทขึ้นไป หรือหากเช่านอนเต็นท์ก็ต้อง 1,000-1,200 บาทต่อหลัง ฯลฯหรือถ้าคิดจะประหยัด หิ้วเต็นท์ไปกางนอนฟรีๆตามเนินเขาไร่กะหล่ำ อาจต้องเสียใจ เพราะที่ดินทุกตารางนิ้วบนภูทับเบิก ล้วนมีเจ้าของ ต้องเสียค่าเหยียบแผ่นดิน อัตรารายละ 100 บาทต่อคนต่อคืน เนื่องจากวันนี้ ผืนดินเล็กๆบนภูทับเบิก สามารถแปรสภาพเป็นเงินได้หมด หากรีสอร์ตไหนไม่มีผืนดินโล่งเตียน  อาจต้องไปเช่าที่ดินต่อจากม้ง(คนถิ่นเดิม)ในราคานับหมื่นบาทต่อปีแลกกับเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ปรับเป็นพื้นที่ให้เช่ากางเต็นท์
ทั้งนี้รีสอร์ตที่ผุดขึ้นบน “ภูทับเบิก” จนถึงขณะนี้ มีอยู่ทั้งสิ้น 222 แห่ง ล้วนอยู่บนที่ดิน ที่กรมประชาสงเคราะห์(เดิม)ขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาเช่าสิทธิ์, ซื้อขายเปลี่ยนมือ, ร่วมลงทุน แปรสภาพเป็นนักธุรกิจ ส่วนเจ้าของดั้งเดิมตัวจริงมี แต่น้อยมาก
กลายเป็นปัญหาที่ทำให้ กรมป่าไม้ โดยสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก ที่รับผิดชอบในพื้นที่พิษณุโลก-เพชรบูรณ์ จำเป็นตรวจยึดดำเนินคดีรีสอร์ตภูทับเบิก ที่ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์
เช่น สอบหลักฐานแล้วเจอสัญญาเช่าพื้นที่ต่อจากชาวม้ง ก็ต้องดำเนินคดีส่งพนักงานสอบสวน สภ.หล่มเก่า อย่างกรณี อิงฟ้า รีสอร์ต, สายหมอกรีสอร์ต เป็นต้น ส่วนรีสอร์ตอื่นๆ ก็เจอข้อหาลักษณะเดียวกัน บ้างเจอข้อหาบุกรุก แผ้วถาง ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ด้วย แต่โทษไม่รุนแรงเมื่อเทียบ พ.ร.บ.ป่าสงวน พ.ศ.2507 เจ้าของรีสอร์ตบางรายยอมเสียค่าปรับและประกันตัวออกมาสู้คดี
          อย่างไรก็ตามกรมป่าไม้ ก็ไม่สามารถยึดรีสอร์ตคืน รื้อถอนตาม มาตรา 25 ได้ เพราะ พ.ร.บ.ป่าไม้ จะต้องให้ศาลพิพากษาจนกว่าคดิสิ้นสุด ทำให้รีสอร์ตหลายแห่งบนภูทับเบิก ยังคงเปิดบริการอย่างใจเย็น!!
ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหา “รีสอร์ตภูทับเบิก” ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขณะนี้ มุ่งเน้น “การจัดระเบียบ” เป็นหลัก ผ่านแผนปฎิบัติการ Action Plan ภูทับเบิก 3-8-8 คือ กำหนดแนวทาง มาตรการในการแก้ไขปัญหาของ 3 หน่วยงาน 8 ยุทธการ ภายในเวลา 8 เดือน
อาทิ เร่งรัดรีสอร์ต 62 แห่ง บนพื้นที่หลักๆ จำนวน 3 พันไร่ , คัดกรองผู้เข้าไปทำประโยชน์ภูทับเบิก , สำรวจผังภาพรวมที่ดิน 5.7 หมื่นไร่เศษ ภายในระยะเวลา 8 เดือน ควรจะประกาศผังเมืองรวม บังคับใช้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ป้องกันไม่ให้สร้างรีสอร์ตเพิ่ม , จัดการขยะและปัญหาดินถล่ม ฯลฯ
          จังหวัดเพชรบูรณ์ มีคำสั่งที่ 2521/2558 ลงวันที่ 2 พ.ย.58 แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีผู้ว่าฯประธานกรรมอำนวยการ ทำหน้าที่วางมาตรการรักษาความปลอดภัย จัดระเบียบจราจร ควบคุมราคาและคุณภาพสินค้าและจัดการปัญหาขยะ
          โดยมอบให้”ศูนย์พัฒนาชาวเขา จ.เพชรบูรณ์”สำรวจรังวัดพื้นที่รีสอร์ต ล่าสุดดำเนินการแล้ว 695 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 84.22) รังวัดอาณาเขต 49 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49.49 รวมพื้นที่ครอบครอง 147 ไร่ มีอาคาร 460 หลัง 589 ห้อง
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ตรวจสอบ 81 รีสอร์ต ตรวจอาคาร 672 หลัง ตรวจร้านอาหาร 33 หลัง ตรวจห้องพักบริการ 696ห้อง สรุปว่า มีความมั่นคงแข็งแรง 481 หลัง ควรแก้ไข 141 หลัง และควรรื้อถอน 50 ราย
แนวทางต่อไปคือ ยกร่างออกข้อบัญญัติท้องถิ่นและจัดการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะภูทับเบิก ซึ่งสาระสำคัญคือ ข้อกำหนดห้ามก่อสร้างอาคารบางประเภท ให้สร้างเฉพาะที่พักอาศัยอาคารเดี่ยวสูงไม่เกิน 6 เมตร มีรูปแบบอาคารตามสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมทั้งมีสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น
           นอกจากนี้ยังระบุให้คณะทำงานฯ จัดระเบียบการจราจรและความปลอดภัย เช่น กำหนดจุดจอดรถ ห้ามจอดในที่จราจรคับคั่ง ให้วางแผนเดินรถทางเดียว จัดหาแผงกัน แต่ข้อเท็จจริงวันนี้ ปรากฎว่า รถยนต์คงหนาแน่นและติดหนักตลอดเส้นทางขึ้นภูทับเบิกในช่วงเทศกาล ทั้งๆที่มีถนนเลี่ยง-เชื่อมออกไปทาง อช.ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก
นายมานพ สายอุ่นใจ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จุดมุ่งหมายหลักๆของแผนปฎิบัติการ Action Plan ภูทับเบิก 3-8-8 เน้นจัดระเบียบยึดหลักมวลชนมากกว่า
          อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องปรามไม่ให้ปัญหาภูทับเบิก ลุกลามขยายตัวมากกว่านี้ จากนี้ไปจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินกรมประชาสงเคราะห์ (เดิม) ที่ขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ประมาณ 8 หมื่นไร่ (ภูทับเบิก-เขาค้อ)
โดยดูว่า ใครอยู่ก่อนอยู่หลัง สืบลึกถึง 3 ชั่วอายุคน เริ่มจากยุคแรกๆ สมัยปี พ.ศ.2509-2516 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เห็นชัดเจนว่า มีการเช่า-ซื้อขายเปลี่ยนมือกันหรือไม่ อย่างไรืและพบยอดดอยเพชรบูรณ์-ต้นน้ำป่าสัก โดนถาง-ออกโฉนดเพียบ
ขณะที่ปัญหา “รีสอร์ตเกลื่อนไร่กะหล่ำภูทับเบิก” ยังหาทางออกแบบยั่งยืนกันไม่ได้นั้น ยอดดอยอีกหลายแห่งของเพชรบูรณ์ ที่เคยเต็มไปด้วยผืนป่าต้นน้ำป่าสัก ไม่น้อยกว่า 11,090 ไร่ ก็ถูกแผ้ว
ถางจนโล่งเตียน แต่กลับไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อน บางแห่งก็มีการออกโฉนดไปแล้ว เช่น ภูขี้ไก่ ที่ถูกกรมป่าไม้ ฟ้องดำเนินคดีอยู่
          โดยเมื่อวันที่ 20ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา ป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ขึ้นบินตรวจการณ์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ บริเวณพื้นที่ที่มีการออกเอกสารสิทธิส่อพิรุธรวมกว่าหมื่นไร่ คือ
1.)ภูขี้ไก่ ต.ท่าอิบุญ อ.หล่มสัก จำนวน 57 แปลง ประมาณ 1,880 ไร่
2.)ภูรวกภูดีหมี และภูน้ำเกลี้ยง บ.ดงทิพย์ ต.ท่าอิบุญ อ.หล่มสัก ประมาณ 1,500 ไร่
3.) บ.หนองยาว ต.หินฮาว อ.หล่มเก่า จำนวน 127 แปลงประมาณ 4,847 ไร่
4.) ภูเพียง บ.โนนผักเน่า ต.หินฮาว อ.หล่มเก่า จำนวน 23 แปลง ประมาณ 483 ไร่
5.) บ.พร้าว ต.บ้านเนิน อ.หล่มเก่า และบ.น้ำก้อ ต.น้ำก้อ อ.หล่มสัก 84 แปลง ประมาณ 2,180 ไร่
6.)บ.ทางแดงต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จำนวน 18 แปลงประมาณ 200 ไร่
ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก กล่าวอีก แม้ฟ้องดำเนินคดีแล้ว แต่ยังไม่หยุดยั้งขบวนการงาบป่าเพชรบูรณ์ได้ นายทุนต่างถิ่น ยังคงเดินหน้าปรับพื้นที่บนภูเขาหลายแห่งเป็นขั้นบันได เนื่องจากไม่มีการเพิกถอนโฉนดจากกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ทั้งๆที่ยอดภูเขาเหล่านั้น ควรอนุรักษ์ไว้เป็นป่าต้นน้ำป่าสัก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...