ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
‘ดีอี’เปิดเวทีสัมมนา“รู้จัก พ.ร.บ.ไซเบอร์”
04 เม.ย. 2562

ดีอี ชวนนักวิชาการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทุกภาคส่วนชี้เป็นกฎหมายเพื่อการ “ป้องกัน” ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์วิเคราะห์ประโยชน์ 3 ข้อที่ประชาชนจะได้รับจากกฎหมายฉบับนี้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้จัดงานสัมมนา “รู้จัก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเปิดเวทีสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งสื่อสารถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากกฎหมายฉบับนี้ เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา

โดย ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า จากรายงานแนวโน้ม 10 ความเสี่ยงที่โลกต้องเผชิญในปี 2562 ของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ระบุว่า การโจมตีทางไซเบอร์ และการโจรกรรมข้อมูล เป็น 2 ความเสี่ยงที่ติดอันดับด้วย

“พ.ร.บ.ไซเบอร์ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคม เน้นการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจปัจจุบันมีการใช้ดิจิทัล ใช้คอมพิวเตอร์อย่างมาก และมีระบบคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งอยู่ในระบบของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น ระบบการเงินของแบงก์ต่างๆ ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับระบบที่เป็นฐานข้อมูลสำคัญกับภาคส่วนอื่นๆ คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) เพราะเป็นหัวใจว่าถ้าระบบส่วนนี้ล่ม ระบบอื่นก็ล่มตาม” ดร.พันธ์ศักดิ์กล่าว

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า หลักการสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการป้องกัน และสร้างความแข็งแกร่งทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) สามารถลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม เพราะบริการสำคัญใน CII มักเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง บริการภาครัฐที่สำคัญ การเงิน-การธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงาน-สาธารณูปโภค และสาธารณสุข

นายปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ กล่าวว่า ความสำคัญของ พ.ร.บ.ไซเบอร์ คือ เพื่อให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศมีวินัย และต้องปฏิบัติตามประมวลแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานขั้นต่ำ ที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กำหนด

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้หลังการบังคับใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ประเมิน 3 ข้อ ได้แก่ 1.ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการที่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้ 2.มีหน่วยงานหลักรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการช่วยเหลือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ในการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ และ 3.มีการสนับสนุนในการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากร เพื่อให้รองรับการปฏิบัติหน้าที่ และให้การดำเนินงานของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศสามารถให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ข้อสำคัญอย่างมากจากการมีกฎหมายฉบับนี้

รศ.ดร.สราวุธ ปิติยาศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) กล่าวให้ความเห็นว่า เนื้อหาใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ มาเทียบเคียงกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ พบว่ามีความสอดคล้องกัน และไม่มีข้อใดละเมิดตามข้อกังวล ในการเข้าตรวจค้นเคหสถาน เข้าถึงข้อมูล หรือยึดคอมพิวเตอร์นั้น ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจโดยศาล เป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่มีการจำกัดหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ ขณะที่ในการรับมือภัยคุกคามระดับวิกฤติ จะเข้าไปอยู่ในส่วนของกฎหมายความมั่นคง

ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ในคณะกรรมการเตรียมการไซเบอร์แห่งชาติ และประธานศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) กล่าวว่า พ.ร.บ.ไซเบอร์ จะมีส่วนช่วยให้เกิดการบูรณาการ และการทำงานร่วมกัน เพราะไซเบอร์เป็นภัยจากภายนอก

พล.ต.ดร. ปรัชญา เฉลิมวัฒน์  อุปนายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) กล่าวว่า การมีกฎหมายด้านไซเบอร์ ช่วยให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำ และความเข้มงวดในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเจ้าหน้าที่ มีเอกภาพในการดำเนินงาน และเกิดประสิทธิภาพในการป้องกัน รับมือ และลดภัยเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

นายพิภู พุ่มแก้วกล้า ผู้ดำเนินรายการสื่อออนไลน์ The Standard กล่าวว่า ในมุมมองของประชาชนคนหนึ่ง เมื่อดูจากชื่อ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคปลอดภัยไซเบอร์ ไม่กังวลว่ากฎหมายนี้จะส่งผลกระทบคนทั่วไป และมองว่าควรมี พ.ร.บ. นี้มานานแล้ว เพราะถ้าประเทศไทยจะนำหน้าด้วยเทคโนโลยีและวัตกรรมมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ก็จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.นี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...