ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
วาง 8 ปี ลงทุนคมนาคมกว่า 1 ล้านล้าน ชี้เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันประเทศ
04 เม.ย. 2562

“อาคม” เปิดแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ วาง 8 ปี อัดเม็ดเงินลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พร้อมระบุการลงทุนดังกล่าวช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กัลป์ประเทศดีขึ้นรอบด้าน เผยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ไม่ล่าช้า โดยระยะทื 2 นครราชสีมา-หนองคาย เริ่มเดินหน้า คาดเปิดบริการวิ่งกรุงเทพฯ ถึงหนองคายได้ในปี 2563

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ควาวมร่วมมือด้านคมนาคม ไทย-จีน จุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ของสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากติดตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการดำเนินงานของรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมมีแผนปฏิบัติงาน 8 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2565 แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีการวางกรอบแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงคมนาคมจึงได้มีการปรับแผนมาเป็นแผนทุกๆ 5 ปี เพื่อให้มีความชัดเจนว่า ทุก 5 ปี จะเห็นอะไรบ้าง

ทั้งนี้ หากดูแผนการลงทุนของกระทรวงคมนาคมแล้ว จะเห็นว่าใน 8 ปี ได้กำหนดเรื่องการลงทุน 4 เรื่องด้วยกัน คือการปฏิรูปกับการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในทุกรูปแบบ ซึ่งจะมีทั้งบก ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ ซึ่งทั้ง 4 เรื่องมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน และหากรวมตัวเลขแต่ละโครงการเข้าด้วยกัน จะมีมูลค่าเกิน  1 ล้านล้านบาทแน่นอน โดยเป็นการทยอยลงทุนเป็นระยะๆ ไป

นายอาคม กล่าวแยกแยะต่อไป โดยเริ่มจากการคมนาคมทางบก หลักๆ จะเป็นเรื่องของไฮเวย์ หรือเป็นถนนทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท รวมทั้งถนนในท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณในเรื่องของการสร้างถนนเป็นจำนวนมากในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา โดยจะเห็นโครงการใหญ่ทางบกอยู่หลายโครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 สายด้วยกัน คือ มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 จากช่วงบางปะอินไปนครราชสีมา 19 กิโลเมตร มีความคืบหน้าไปแล้ว 70% มอเตอร์เวย์สายต่อมาก็คือ ส่วนต่อขยายจากกรุงเทพฯ-พัทยาไปมาบตาพุดอีก 32 กิโลเมตร ส่วนเส้นที่ 3 เป็นมอเตอร์เวย์สาย 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร

“นอกจากนั้น ก็เป็นเรื่องของต่อขยายถนนจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ซึ่งได้ดำเนินการในเกือบทุกภาค ส่วนถนนในชนบทมุ่งไปในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในเรื่องการก่อสร้างถนน เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาจราจรที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค” นายอาคม กล่าว พร้อมเปิดเผยต่อไปว่า

ในเรื่องของระบบราง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ ที่จะไม่เห็นรัฐบาลใดลงทุนมากมายขนาดนี้ โดยระบบรางจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 เป็นในเรื่องของการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร โดยที่กำลังเห็นการก่อสร้างอยู่มากมายในขณะนี้คือ การก่อสร้างรพไฟฟ้า ซึ่งมีแผนแม่บทรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร 10 สายด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ระบบรถไฟฟ้ามีทั้งด้านเหนือลงใต้ ใต้ขึ้นเหนือ ตะวันนออกไปตะวันตก แล้วยังมีวงแหวนอีก คือสายสีน้ำเงินที่จะเปิดให้บริการในปี 2563

                ล่าสุด ครม.ได้อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็คือเพิ่มเติมจากรังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชัน ต่อไปศาลายา จากตลิ่งชันก็ลงมาที่โรงพยาบลาลศิริราช ทางด้านเหนือก็จะต่อจากรังสิตไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะเป็นความสมบูรณ์ของสายสีแดง ซึ่งก็จะทำหน้าที่เป็นรถไฟฟ้าชานเมือง นำคนที่อยู่ชานเมืองระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร วิ่งเข้ามาในเมือง แล้วก็เชื่อมต่อที่สถานีกลางบางซื่อที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งบางซื่อก็จะทำหน้าที่เป็นสถานีใหม่ของรถไฟแทนที่หัวลำโพง

สำหรับระบบรางในส่วนที่ 2 ก็คือ รถไฟวิ่งระหว่างเมือง ก็คือรถไฟที่วิ่งทางไกล เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลฯ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และใน 4 เส้นทางนี้ จะเห็นว่ามีขบวนรถใหม่ที่ให้บริการที่ทันสมัยเกิดขึ้น มีความสะดวกสบาย โดยเป็นรถที่ประกอบในจีน

ขณะที่ระบบรางในส่วนที่ 3 คือ รถไฟความเร็วสูง มีอยู่ที่ 4 โครงการด้วยกันคือ โครงการที่  1 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการที่ 2 เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา โครงการที่ 3 เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เส้นที่ 4 ก็คือ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน 350 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 4 เส้นทางก็จะวิ่งเข้าสู่ตัวสถานีกลางบางซื่อ

สำหรับด้านอากาศนั้น สนามบินสุวรรณภูมิขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างตัวอาคารแซทเทิร์นไรต์ และการก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 อยู่ระหว่างการนำเสนอ ครม. ส่วนสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็น 1 ในโครงการของอีอีซี (โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชน ขณะที่สนามบินดอนเมือง แผนการปรับปรุงได้ผ่านขคณะกรรมการของ ทอท.แล้ว เหลือเพียงนำเสนอ ครม. อนุมัติเท่านั้น โดยเมื่อทั้ง 3 สนามบินได้รับการปรับปรุงแล้ว จะมีความสามรถรองรับผู้คนได้ถึง 200 ล้านคนต่อปี

ส่วนสนามบินในต่างจังหวัด 28 สนามบิน ขณะนี้ก็กำลังขยายแถบทุกสนามบินเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่สำคัญก็คือนักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งวันนี้จะเห็นว่า นักท่องเที่ยวาเที่ยวจากจีนไม่ได้มาเที่ยวเฉพาะที่ภูเก็ต เชียงใหม่ หรือพัทยา เท่านั้น แต่ไปเกือบทุกจังหวัด

“ขณะที่ทางน้ำ มีโครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะที่ 3 ซึ่งก็เป็น 1 ในโครงการของอีอีซี ขณะนี้อยู่ระหว่างดการเจรจาเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ทั้ง 4 หมวด มูลค่าการลงทุนจะเกิน 1 ล้านล้านบาทแน่นอน ซึ่งการเบิกจ่ายจะมีความต่อเนื่องไปทุกๆ ปี จนถึงปี 2565 หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับโครงการได้เริ่มในช่วงไหน ซึ่งผลจากการลงทุนทั้งหมดนี้ จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยดีขึ้นในทุกด้าน” นายอาคม ระบุ

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ย้อนกลับมากล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนว่า โครงการดังกล่าวนี้ เริ่มมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่ปี 2553 จนมาในปี 2557 ได้มีการเริ่มลงนามในเอ็มโอยูระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน จากนั้นก็มีพัฒนาการมาเรื่อย จนได้ข้อสรุปว่า โครงการความร่วมมือนี้จะพัฒนาในเรื่องของรถไฟสแตนดาร์ด เกรด ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ในส่วนของประเทศไทยก็จะเป็นกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วก็นครราชสีมาเชื่อมต่อไปที่หนองคาย

ทั้งนี้ การแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ก็เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยในระยะที่ 1 ได้ตกลงให้ฝ่ายจีนเป็นผู้จัดทำการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบ ขณะที่สัญญาจะแบ่งออกเป็นในเรื่องการก่อสร้างกับระบบรถไฟความเร็วสูง โดยในเรื่องของการก่อสร้างในระยะทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 252.3 กิโลเมตร ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 14 ตอนด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว โดยเริ่มจากตอนที่ 1 ในระยะสั้นๆ 3.5 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีจากจีน โดยการเริ่มต้นในระยสั้นเป็นประโยชน์คือ อันดับแรกไม่ต้องไปเวนคืนที่ดิน เพราะเป็นที่ดินของการรถไฟฯ อันดับที่สอง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่จากจีนจึงเป็นการเปิดโอกาสให้วิศวกรฝ่ายไทยได้เรียนรู้มากขึ้นเป็นลำดับ

ส่วนตอนที่ 2-14 นั้น ก็ได้มีการหารือกับวิศกรจีนมาโดยตลอด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการออกแบบและตรวจสอบ ซึ่งตอนที่ 2 เพิ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา ระยะทาง 16 กิโลเมตร ขณะที่ตอนที่ 3-14 จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 มี 5 สัญญา ระยะทาง 144 กิโลเมตร กลุ่มที่ 2 มี 7 สัญญา ระยะทาง 90 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มได้มีการออกทีโออาร์ไปแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาในเดือนพฤษภาคม ดังนั้น การลงนามในสัญญาก่อสร้างจะเสร็จสิ้นเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม ด้านระบบอาณัติสัญญาณ ตัวรถ และการบำรุงรักษา คาดว่าในเดือนเมษายนจะสามารถสรุปได้เ พราะเจรจามาหลายรอบแล้ว โดยคาดว่าทั้งหมดจะไปแล้วเสร็จในปี 2565 และปี 2566 ก็จะเปิดให้บริการ

ส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 355 กิโลเมตร จากนครราชสีมาไปหนองคาย ได้เจรจากับฝ่ายจีนว่า ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ออกแบบ โดยฝ่ายจีนจะเป็นที่ปรึกษา คาดว่าจะสามารถออกแบบได้เร็วภายในปี 2562 และต้นปี 2563 ก็จะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็จะประกวดราคา เริ่มต้นก่อสร้างในปี 2563 เพราะฉะนั้น 2 ส่วนนี้ก็จะเชื่อมกันในปี 2567

“ต่อไปถามว่า แล้วจะเชื่อมกับลาวกับจีนได้อย่างไร นั่นคือระยะที่ 3 คือ การข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งมีการตกลงกันว่า ให้ฝ่ายจีนเป็นเจ้าภาพในเรื่องของการออกแบบสะพานอันใหม่ ค่าใช้จ่ายคนละครึ่งกับฝ่ายลาว เพราะฉะนั้น สะพานแห่งใหม่นี้ก็จะรองรับในเรื่องของรถไฟความเร็วสูง โดยความเร็วที่วิ่งในลาวจะอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ในไทยความเร็วที่วิ่งจะอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยในส่วนของลาวระยะทางอยู่ที่ 428 กิโลเมตรถึงบ่อเต็น บ่อหาน และจากบ่อเต็น บ่อหานไปถึงคุนหมิงอีก 583 กิโลเมตร”

“เพราะฉะนั้นระยะทางทั้งหมดหากรวม 3 ตอน ในส่วนของจีน คุนหมิงมาถึงชายแดน 583 ในส่วนของลาว 428 ในส่วนของไทย 252 บวก 355 ก็เป็น 608 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 1,619 กิโลเมตร ดังนั้น จากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิง ใช้เวลาทั้งสิ้น 13 ชั่วโมงครึ่ง นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก” นายอาคม กล่าวในที่สุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...