มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวในฐานะที่เป็นอาหารสำคัญของโลกอยู่หลายประการประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับที่ 1 ของโลกและพยายามจะรักษาความเป็นอันดับ 1 เอาไว้ให้นานที่สุด ขณะที่ชาวนาที่ทำนาอยู่ในปัจจุบัน อายุอยู่ระหว่าง 45-80 ปี ครอบครัวชาวนาและเกษตร 5.8 ล้านครอบครัว มีผลการทำการเกษตรขาดทุนปีละ 34,095 บาท ข้อมูลนี้อธิบายได้ว่าเราพยายามจะเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกข้าว โดยให้คนแก่ทำนาผลิตข้าวให้กับประเทศ ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เป็นผู้ส่งออกข้าวติดอันดับโลกแต่ประการใด แต่ชาวนาญี่ปุ่นเป็นคนมีฐานะดี เป็นกลุ่มที่มีพลังทางการเมือง เสียงของชาวนาญี่ปุ่นผู้บริหารประเทศต้องฟัง หากประเทศไทยได้กินข้าวผลิตข้าวที่ดีต่อชีวิตชาวนาและเกษตรกรมีชีวิตที่ดี เพราะขายข้าวได้ดีได้ราคาและมีกำไร คนในประเทศไทยคงมีความสุขร่วมกัน
ในฐานะภาคธุรกิจเอกชนของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาเอกชนที่ไม่แสวงกำไร ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการจัดทำชาวนาทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนและเชื่อมต่อ “โครงการเกษตรกรเด็กหัวการค้า รุ่นที่ 1” โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างชาวนาอัจฉริยะนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา ทุกคณะ ให้เรียนรู้ต้นแบบเกษตรที่ทันสมัยและประสบความสำเร็จ โดยใช้กระบวนการทำการเกษตรแบบผสมผสานให้กับนักศึกษาทายาทเกษตรกรในชนบทและนักศึกษาทุกคนที่สนใจได้นำไปทดลองปฏิบัติ โดยอาศัยเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการทำการเกษตรที่ละเอียดอ่อน เริ่มตั้งแต่รู้จักดิน ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ตลอดจนสอนค้าขายสินค้าในตลาดต่างๆ พร้อมเปิดตลาดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
นางสาวพีชนา แสงอ่อน (น้องป่าน) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “สนใจสมัครโครงการเกษตรกรเด็กหัวการค้า รุ่นที่ 1 เพราะจากที่เราเคยปลูกพริกที่บ้านเองแล้วล้มเหลวก็เลยอยากเข้ามาเรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ปลูกจริงๆ อีกครั้งว่ามันจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร พอได้เข้ามาเรียนรู้ในโครงการอย่างแรกคือเรียนรู้การเพาะต้นอ่อนทานตะวันโดยเริ่มจากคัดเลือกเมล็ด แช่น้ำ จากนั้นก็เรียนรู้การทำจุลินทรีย์ ทำสรรพสิ่งหรืออาหารของผัก ผลไม้ที่มาจากธรรมชาติจริงๆ ตั้งแต่ก้อน ผง น้ำ และเริ่มเก็บวัตถุดิบมาทำสรรพสิ่งพวกนี้ ปัจจุบันอาหารแต่ละอย่างที่ใช้พืชผลทางการเกษตรก็ล้วนแต่มีสารเคมี ถ้าเราได้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติก็จะดีกว่าส่งผลดีกับสุขภาพเรามากกว่า โดยโครงการนี้ก็มีการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ลงมือปฎิบัติจริงให้ผู้ที่เข้าโครงการได้เข้าใจการปลูกพืชแบบปลอดสารเคมีว่ามีข้อดีอย่างไรโดยเป็นการกระจายข่าวสารให้คนกลุ่มเล็กๆ ได้เรียนรู้และทำให้เขาสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาต่อไปได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ต่อไป”
นายอภิสิทธิ์ ไชยราษ (น้องต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “ที่บ้านผมมีการทำการเกษตรกันทั้งครอบครัวโดยที่บ้านจะมีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง รวมถึงอาจจะมีการส่งออกไปขายตามตลาด แต่หลักๆ ที่ครอบครัวทำคือการปลูกข้าวโดยปลูกเป็นนาปี ได้กำไรไม่เยอะมากเท่าไหร่แต่ก็พอที่จะต่อชีวิตปีต่อปีได้ ข้าวที่ปลูกจะเป็นพันธุ์ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิปกติ โดยจะปลูกที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ เพราะแต่ละปีจะใช้เนื้อที่ในการปลูก 20 งาน แต่ใน 20 ไร่นี้จะแบ่งออกเป็นปลูกข้าวจ้าวล้วนๆ 16 งาน อีก 4 งานจะเป็นข้าวเหนียว ผมเข้าโครงการนี้และชื่นชอบมากสำหรับผมได้เรียนรู้การเตรียมวัตถุดิบในการหมักปุ๋ย โครงการนี้จะเรียกปุ๋ยว่าสรรพสิ่ง ก็คือการเอาสิ่งของที่มีเดิมอยู่แล้วมาหมักรวมกันให้มันสามารถปรับสภาพหน้าดินได้แล้วมันจะเพิ่มพูนผลกำไรให้เราเมื่อเราเริ่มปลูกอะไรก็ได้ที่เราอยากจะปลูก หลังจบโครงการผมอยากเอาไปเผยแพร่ให้ที่บ้านยกเลิกการใช้สารเคมีในการปลูกข้าว อยากให้ลองหันมาใช้สรรพสิ่งพวกนี้ที่เราเรียนมาที่สามารถหาได้จากตามธรรมชาติมาลองปรับเปลี่ยนใช้ตามฤดูกาล อาจจะยังไม่เริ่มทั้งหมดแต่อาจจะลองสัก 1 งานก่อนถ้าเห็นผลกำไรที่ดีก็จะค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้สรรพสิ่งทั้งหมดเพราะมันส่งผลที่ดีต่อหน้าดินด้วยครับ”
นางสาวภานุมาศ สุขานนท์ (น้องนาว) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “ที่บ้านทำสวนส้ม มะม่วง มะละกอและเกษตรทั่วไปโดยใช้สารเคมีไม่ได้ปลูกแบบปลอดสารพิษซึ่งพอได้ทราบว่ามีโครงการนี้เกิดขึ้นก็เลยอยากที่จะมาเข้าร่วมและเรียนรู้วิธีการปลูกพืชแบบปลอดสารพิษเพื่อนำไปใช้กับสวนที่บ้านของตัวเอง โดยสวนของที่บ้านตั้งอยู่ที่อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชรโดยแบ่งเนื้อที่ทำสวนส้มประมาณ 10 ไร่ ซึ่งตอนนี้สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย ส่วนพื้นที่ที่จัดปลูกสวนมะม่วงก็ประมาณ 10 ไร่เหมือนกันแต่ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพราะพึ่งเริ่มต้นปลูกไปเมื่อปีที่แล้ว ยังไม่รวมพื้นที่ในส่วนที่มีไว้ทำนา เมื่อได้เข้าโครงการประทับใจตั้งแต่ที่เริ่มเข้ามาเรียนรู้เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน พี่ๆ คุณครู ให้ความรู้อย่างละเอียดการทำสรรพสิ่งแห้ง สรรพสิ่งน้ำ การทำน้ำหมัก การปลูกผัก ถ้าเราไม่นำเมล็ดไปแช่น้ำก่อนแล้วเราไปโรยตามดินที่เตรียมไว้เลยมันจะมีความแตกต่างกันออกไปอย่างไรได้ลดทองใช้น้ำต่าง ๆ ในการรดต้นอ่อนเพื่อดูการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ถ้าอันไหนประสบความสำเร็จและดีต่อผลผลิตของเรามันก็ทำให้เราสามรถนำไปปรับใช้กับสวนของเราได้เป็นอย่างดี”
โครงการโครงการเกษตรกรเด็กหัวการค้า รุ่นที่ 1” มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมุ่งสร้างเกษตร ชาวนารุ่นใหม่อย่างนักศึกษา ช่วยเพิ่มรายได้หลักจากเกษตรกรรมพืชเศรษฐกิจหลัก ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุน เพิ่มรายได้เสริมให้เกษตรกร ด้วยการเพาะปลูกพืชระหว่างฤดู และ/หรือการสร้างอาชีพเสริม ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ด้วยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์แบบพอเพียงเพื่อการบริโภค ในครัวเรือน และเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายและส่งเสริมการออมด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรไทย”