ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
โรงเรียนเตรียมฯ มจพ.สุดเจ๋ง กวาด 5 รางวัลแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ
19 ก.ย. 2562

                 การแข่งขันหุ่นยนต์ “World Robot Games Thailand Championship 2019” ครั้งที่5 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อตอกย้ำการส่งเสริมด้านการศึกษาและเสริมศักยภาพประสบการณ์ใหม่ด้านหุ่นยนต์แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาสังคมไทย  ในปีนี้ได้เปิดโอกาสสำหรับผู้เข้าแข่งขันทุกระดับอายุ ตั้งแต่อายุ 7-99 ปี  โดยในการแข่งขันได้แบ่งออกเป็นหลายรุ่นและหลายรายการ ซึ่งนับเป็นการแข่งขันที่ท้าทายในการแสดงศักยภาพและความสามารถในความคิดสร้างสรรค์และสุดยอดไอเดียการสร้างหุ่นยนต์ที่หลากหลายมากขึ้น

                โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) สามารถคว้ารางวัลมาได้ถึง 5 รางวัลในการแข่งขัน“World Robot Games Thailand Championship 2019” ครั้งที่5  ได้แก่ นายพาทัส แจ่มใจ  สาขาไฟฟ้า ชั้นปีที่ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภท SUMO RC Xteme 3 kg,รางวัลชนะเลิศอันดับที่2RUNNERUP SUMO Rc 3kgและรางวัลชะเลิสอันดับ3 RUNNERUP Mini rescue senior,นายเจษฎากร ชัยนราพัฒน์ สาขาเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ2 RUNNERUP SUMO Xteme 3 kg และ นางสาวเสาวลักษณ์ ณ คำพล ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ3 RUNNERUP SUMO rc senior 5 kg  

                นายพาทัส แจ่มใจ (น้องเท็น)  สาขาไฟฟ้า ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ1 SUMO RC Xteme 3 kg เล่าว่า “รู้สึกภูมิใจที่ได้รับรางวัลและได้ก้าวเข้ามาแข่งขันในเวทีนานาชาติครั้งที่5ในปีนี้ ผมมีการฝึกซ้อมตัวหุ่นยนต์เกือบทุกวันเพื่อหาข้อผิดพลาดและไขปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลมาจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนและเห็นของรุ่นพี่ทำก็เลยนำทุกอย่างมารวมกันและเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เราทำหุ่นตัวนี้ขึ้นมาโดยมีชื่อว่า “ชบาแก้ว” น้ำหนัก 2.7 กิโลกรัม โดยมีคุณสมบัติพิเศษมี 6 มอเตอร์ ถ้าสู้กับหุ่นยนต์ที่มีจำนวนมอเตอร์เท่ากันจะมีความรุนแรงเท่ากัน เรื่องหน้าตัดของล้อใช้หน้าตัดล้อที่27 ซึ่งทำให้ผิวสัมผัสจะเยอะกว่าของผู้อื่น สามารถทำให้ทนแรงเสียดทานมากกว่า ในส่วนของกันชนด้านหน้าออกแบบตามใบกบที่ใช้ในการไสไม้แต่เราแค่นำมาประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์ ที่สำคัญการที่จุดหมุนของหุ่นอยู่ตรงกลางพอดีทำให้เวลาเลี้ยวจะมีความคล่องตัวกว่าหุ่นของคนอื่น ซึ่งตรงนี้นั้นเกิดจากการที่เราคิดคำนวนและลองทดสอบดูผลปรากฏว่ามันออกมาดีจึงอาจจะเป็นเพราะจุดนี้ด้วยที่ทำให้เราชนะหุ่นของคนอื่น”  

                นายเจษฎากร ชัยนราพัฒน์ (น้องเจษ) สาขาเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ว่ารางวัลชนะเลิศอันดับ2 RUNNERUP SUMO Xteme 3 kg เปิดเผยว่ารู้สึกภูมิใจอย่างมากเพราะเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรก แรงบันดาลใจในการสร้างหุ่นยนต์เกิดมาจากปัญหามากกวาเพราะการทำหุ่นยนต์ซูโม่มันจะเกิดปัญหาจากตัวสโลปที่มีไว้เพื่องัดหรือยกหุ่นยนต์ของคู่ต่อสู่มันไม่ติดพื้น ผมต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา มีการออกแบบเพื่อให้สามารถขยับด้านหน้าได้มันจึงทำให้ตัวของสโลปนั้นติดพื้นตลอด หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า แบล็ค ที่แปลว่าสีดำ คุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ แบ่งออกเป็น 2 ชิ้น คือชิ้นที่เอาไว้งัดกับชิ้นที่ขับเคลื่อนโดย 2 ชิ้นนี้จะแยกออกจากกันและทำงานไม่เหมือนกัน มันเป็นข้อดีตรงที่จะทำให้ตัวสโลปด้านหน้าติดพื้นอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าล้อจะยกสโลปก็ยังติดพื้นอยู่ และในส่วนของมอเตอร์จะมีท้องค่อนข้างที่จะสูงซึ่งกินกระแสไฟน้อย จึงทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอร์รี่บ่อย สำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้ที่คิดไว้อาจจะนำไปต่อยอดในอนาคตเป็นรถเก็บขยะขนาดเล็ก เพราะในแต่ละบ้านที่อยู่ติดกันนั้นมีจะช่องว่างระหว่างกันที่ค่อนข้างจะแคบซึ่งบางทีคนก็ไม่สามารถเข้าไปได้ก็อาจจะนำหุ่นยนต์ตัวนี้เข้าไปไถเพื่อเก็บขยะออกมาให้”

                 นางสาว เสาวลักษณ์ ณ คำพล (น้องเจน) สาขาเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ3 RUNNERUP SUMO rc senior 5 kg  กล่าวว่า “แรงบันดาลใจหารทำหุ่นยนต์ครั้งนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากของรุ่นพี่ที่ได้นำมาแข่งในระดับนานาชาติในปี 2017 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะพิเศษของหุ่นยนต์จะมี 4 ล้อ และจะไม่เหมือนคนอื่นตรงที่เราจะใช้โซ่ เพื่อให้มันสามารถขับเคลื่อน 4 ล้อได้ ทั้ง ๆ ที่มีเพียงแค่มอเตอร์เดียว ซึ่งจะแตกต่างจากคนอื่นซึ่งบางคนอาจจะใช้ยางซิลิโคนหรือยางที่ทำมาจากวัสดุอื่น แต่ของเรานั้นใช้ยางจากทางโรงงานที่คุณภาพนั้นดีเทียบเท่ากับยางซิลิโคน ตัวมอเตอร์สโลปใช้ใบกบเหมือนคนอื่น ๆ แต่มีความพิเศษตรงที่ปลายของมันจะเป็นเหล็กไฮสปีดจะมีความแข็งแรงมากกว่า เมื่อหุ่นยนต์ของเราขึ้นไปอยู่บนหุ่นยนต์ของคู่แข่งจะไปจิกวัสดุที่อ่อนกว่า อีกทั้งในส่วนของกำลังของมอเตอร์ที่หุ่นยนต์มีกำลังที่มากกว่า จึงทำให้หุ่นยนต์ของเราดันของคู่ต่อสู่ออกนอกพื้นที่การแข่งขันได้ ที่สำคัญยังสามารถนำหุ่นยนต์ที่เราออกแบบนี้ ทำการพัฒนาต่อยอดได้ไว้ไปช่วยขนสินค้าชิ้นเล็กในระยะทางไกล ๆ โดยที่เราไม่ต้องเดิน อีกทั้งยังนำมาเป็นของเล่นให้เด็ก ๆ เล่นได้อีกด้วยค่ะ”

            อาจารย์ธีรวัฒน์ เบญจวิไลกุล ที่ปรึกษาชุมนุมหุ่นยนต์  โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย – เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า “การเตรียมตัวจะให้นักศึกษาเตรียมตัวเองว่าอยากแข่งในรายการไหน ให้ไปหาข้อมูลในรายการนั้น ๆ มา จากนั้นอาจารย์คอยให้คำปรึกษาก่อนหน้าหลังจากที่นักเรียนหารายการที่อยากจะลงแข่งขันพร้อมอธิบายเกี่ยวกับรายการนั้น ๆ ให้ฟังก่อนถึงจะแนะนำว่ารายการไหนควรใช้หุ่นแบบไหนในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในทุกปี อีกทั้งในเรื่องของสถานที่ที่ใช้ทำงานก็อนุญาตให้เปิดเกินเวลาเพื่อให้นักเรียนปฎิบัติการทำงานได้จริง เทคนิคพิเศษที่ผมสอนนักศึกษา ให้ซ้อมให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งซ้อมก็ยิ่งได้ฝึกฝนตอนแข่งขันก็ให้นักศึกษาคิดว่าเรากำลังซ้อมอยู่ นักศึกษาจะได้ไม่ตื่นเต้นกับสนามและผลก็ออกมาตามความตั้งใจอย่างจริงจังของนักศึกษาทุกคน”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...