"ศักดิ์สยาม" เปิดไอเดีย ระดมทุนสร้างทางด่วนเชื่อมสนามบิน 35,000 ล้านบาท ขณะที่กรมทางหลวงสนใช้เงินกู้ ADB ลงทุนมอเตอร์เวย์สายใหม่ 2 แสนล้านบาท
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้สั่งไปยังทุกหน่วยงานให้มองการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในระยะยาวเพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติ โดยไม่จำเป็นต้องรองบประมาณรายปี เพราะอาจล่าช้าเกินไป ดังนั้น จึงต้องใช้เครื่องมือการลงทุนแบบใหม่ที่จะไม่สิ้นเปลืองงบประมาณรัฐบาล และไม่กระทบต่อจำนวนหนี้สาธารณะของประเทศมากนัก ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทางคือ
1.การเปิดระดมทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ ทีเอฟเอฟ (TFF) 2.การร่วมทุนระหว่างภาคีรัฐและเอกชน (PPP)หากแต่ละหน่วยงานพบว่ามีความเหมาะสม มีศักยภาพในการพัฒนา สามารถเสนอเข้ามายังกระทรวงได้เลย เพื่อศึกษาและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เศรษฐกิจ เพราะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มองว่าโครงการที่มีศักยภาพคือโครงการทางด่วนเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 35,000 ล้านบาท ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า โครงการทางยกระดับทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 ช่วงศรีนครินทร์ -สนามบินสุวรรณภูมิ จุดเริ่มต้นเป็นการเชื่อมต่อกับทางด่วนศรีรัช บริเวณทางลงทางด่วนศรีนครินทร์และมีจุดสิ้นสุดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขณะนี้ศึกษาโครงการเสร็จแล้วควบคู่ไปกับการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ถือว่ามีความพร้อมในการลงทุน เป็นโครงการมีศักยภาพเพื่อแก้ปัญหาจราจรบนมอเตอร์เวย์และบริเวณทางเข้าสนามบิน ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณรถวิ่งมากว่า 150,000 คันต่อวัน ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564-2565
อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือในการลงทุนใหม่นั้น มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คือ 1.รูปแบบ TFFจะติดปัญหาเรื่องการแก้กฎหมายเรื่องการใช้รายได้ของรัฐ จัดสรรเป็นผลตอบแทนให้กองทุน 2.รูปแบบ PPP จะต้องใช้เวลาหาเอกชนร่วมทุนอาจใช้เวลานาน
สำหรับแผนลงทุนมอเตอร์เวย์สายใหม่ 4-5 เส้นทาง มูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาท ในรอบ 2 ปีข้างหน้า การใช้เงินกู้ต่างชาติเป็นอีกตัวเลือกที่ดี เช่นการกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งมีแนวโน้มจะให้ไทยกู้มากขึ้น วงเงินอาจสูงถึง 60% ของมูลค่าโครงการ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า การใช้เงิน TFF ในการระดมทุนก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่นั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะต้องเป็นผู้เสนอแนวทางเข้าสู่ที่ประชุม ครม. และเข้าสู่รัฐสภาเพื่อเปิดโหวตขอความเห็นชอบในการแก้กฎหมายกองทุนมอเตอร์เวย์ หลังจากที่การแก้ร่างกฎหมาย โดยการระดมทุน TFF ของกรมทางหลวงนั้น จะทำสัญญาโอนและรับสิทธิโอนในรายได้ของมอเตอร์เวย์สาย 7 และสาย 9 นำส่งกองทุนทุกปีเพื่อเป็นผลตอบแทนในการลงทุน
อธิการบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ในปี 2563 จะมีการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่รวม 7 โครงการรวม 124,506 ล้านบาท 1. โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ระยะทาง 16.8 กม.
วงเงิน 3,930 ล้านบาท (ฝ่ายไทย 2,630 ล้านบาท) เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้รับความช่วยเหลือในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ - สปป ลาวไปยังตลาดจีนตอนใต้อีกด้วย 2. โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ด้านตะวันออก) ระยะทาง 16.127 กม. เส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างไทย - สปป. ลาว 3. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สายพัทยา - สัตหีบระยะทาง 22.242 กม. ลานจอดรถทางทิศตะวันออกและการสนับสนุนสนามบินอู่ตะเภา
4. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 290 ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาระยะทาง 24.686 กม. วงเงิน 3,060 ล้านบาท 5. โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทล. 415 สายพังงา - อ. บ้านตาขุนตอนบ บางคราม - บ. ปากน้ำระยะทาง 26.78 กม. 6. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางขุนเทียน - บ้านแพ้วระยะทาง 25 กม. 32,210 ล้านบาท และ 7. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม - ชะอำระยะทาง 109 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาท