สังคมในปัจจุบันยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าอย่างมากพร้อมแอพพลิเคชั่นในการรู้จักเพื่อนใหม่ หลายๆคนลงเอยด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เชื้อเอชไอวี (HIV) และ เอดส์ (AIDS) มีเพิ่มขึ้นทุกวันไม่ใช่แค่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น แต่ส่งผลถึงทุกเพศ หรือ ผู้ที่ไม่รู้วิธีการป้องกันก็สามารถที่จะมีโอกาสติดเชื้อHIVได้ทั้งหมด เราอาจจะคิดว่าเรามีเพศสัมพันธ์กับคนคนเดียวครั้งเดียวคงไม่เป็นอะไร แต่ปัจจุบันไม่ใช่ เพราะHIV มันสามารถติดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เราเริ่มมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการป้องกัน เพราะแต่ละคนไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอีกฝ่ายมีเพศสัมพันธ์กับใครมาบ้างแค่คนเดียวและครั้งแรกเหมือนกันหรือไม่ หรือคนที่เรามีเพศสัมพันธ์มีเชื้ออยู่มั้ยในร่างกาย\
ล่าสุดงานแข่งขัน HK Innovation Challenge จัดโดยศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่1 แต่ละทีมคิดค้นนำเสนอโครงการ ปัญหา ความเป็นมาตลอดจนนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาให้กับส่วนร่วม สามารถนำมาสร้างเป็นธุรกิจหรือช่วยเหลือพัฒนาชุมชนและสังคมไทยได้ ในปีนี้ทีมเล่ห์ลับสลับร่าง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคว้ารางวัลชนะเลิศBest Impact โดยมีการคิดค้นเพจเฟสบุ๊กและไลน์ “Let talk about PrEP” มีหน้าที่ให้ข้อมูลผ่านทางเฟสบุ๊กและไลน์เกี่ยวกับยาเพร็พ (PrEP) และยาเป็ป (PEP)ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่สนใจทุกคน โดยทุกช่องทางเป็นการสนทนาผ่านทีมงานที่ดูแล ไม่มีการตอบคำถามแบบระบบอัติโนมัติ เพื่อให้ความรู้สึกที่ดีแก่ผู้รับข้อมูลข่าวสาร
นางสาวชนาธิป ยินห้อง (น้องดิว) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมชนะเลิศ Best Impact HK Innovation Challenge เล่าว่า “ตอนแรกเรามองว่าเรื่องเอดส์หรือเอชไอวีนี้เป็นเรื่องไกลตัวจากเรามาก แต่พอเราอยู่ในวัยนี้เรามองเห็นถึงปัญหาที่กลุ่มความหลากหลายทางเพศหรือชายจริงหญิงแท้ต้องพบเจอ อาจจะไม่กล้าเข้าไปปรึกษาแพทย์ แต่ต้องการรับตัวยาเพร็พ (PrEP) และยาเป็ป (PEP) รวมทั้งไม่มีความรู้ในการใช้ยานี้จริง ทางทีมเลยอยากเป็นสื่อกลางระหว่างสาธารณะสุขที่ได้รับทราบข้อมูลและนำข้อมูลให้มาเผยแพร่ข้อมูลให้กับคนที่อยากจะเข้ามาศึกษาว่าตัวยาคืออะไร ถ้าอยากจะรับยาต้องรับอย่างไร ถ้ามีผู้ที่สนใจเราจะมีการแนะนำและส่งต่อให้กับกระทรวงสาธารณะสุข การเข้าร่วมโครงการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเป็นโครงการที่ถูกจัดตั้งมาอยู่แล้ว ทีมเราเพียงแค่หน้าที่หลักเป็นสื่อกลางเพื่อช่วยให้คนที่ไม่กล้าที่จะเข้าไปปรึกษากับทางผู้ใหญ่หรือแพทย์สามารถหันมาปรึกษาทางทีมงานเราก่อน โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งมีวัยใกล้เคียงคุยภาษาเดียวกัน โดยเราจะให้ข้อมูลเบื้องต้นและกระบวนการขั้นตอนในการเข้าขอรับยาว่าต้องทำอะไรบ้างอย่างถูกวิธี โดยการที่เราเลือกที่จะทำโครงการในรูปแบบนี้นั้นเพราะเรามองว่าเฟสบุ๊ก ไลน์เป็นสิ่งที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายที่สุดในตอนนี้ อีกทั้งข้อความที่โพสต์ลงเฟสบุ๊ก ทีมงานเลือกที่จะทำเป็นโปสเตอร์เพราะปัจจุบันคนไทยไม่ชอบอ่านอะไรที่มันยาวมาก การที่เราทำออกมาเป็นรูปเป็นคำอธิบายง่าย ๆ สั้น ๆ แต่เข้าใจทำให้คนไทยอยากที่จะอ่าน โดยการโพสต์แต่ละโพสต์เราจะแยกเป็นหัวข้อแต่ละวัน เช่น ยาเพร็พ (PrEP) เหมาะกับใครและมีประโยชน์อย่างไร ยาเพร็พ (PrEP) นั้นใครควรที่จะทาน ทานเพราะช่วยในเรื่องอะไร โดยที่เราจะเน้นใช้รูปเป็นการสื่อสารที่มากกว่าข้อความประโยคยาว”
นางสาวชนิกานต์ พิมพ์แพทย์ (น้องพิม) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทีมชนะเลิศ Best Impact HK Innovation Challenge กล่าวว่า “ขอบคุณสำหรับรางวัลชนะเลิศที่ได้รับครั้งนี้ พอได้เข้ามาทำโครงการรู้สึกว่าหลายๆคนยังมีข้อมูลเรื่องเอชไอวีและเอดส์น้อยมาก การทำเฟสบุ๊กและไลน์เพื่อที่จะกระจายความรู้ให้คนอื่น ได้รับรู้ แฟนเพจช่วยกันแชร์เพจของเรา ป้องกันแก้ไขความเข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่น ยาเพร็พ (PrEP) กับ ยาเป็ป (PEP) คือ ยาเพร็พ (PrEP) ต้องทานก่อนที่เราจะมีเพศสัมพันธ์ แต่ยาเป็ป (PEP) เราต้องทานเมื่อเรามีเพศสัมพันธ์ไปแล้วภายใน 72 ชั่วโมงยาถึงจะออกฤทธิ์ เราเลยมองว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่นั้นมีความรู้ในเรื่องนี้น้อยมาก เพราะวัยรุ่นส่วนใหญ่จะมีความคิดที่ว่า HIV คือเป็นโรเอดส์ คนที่ทานยาเพร็พ (PrEP) กับ ยาเป็ป (PEP) นั้นถือว่าเป็นผู้ติดเชื้อและส่วนใหญ่ผู้ทีทานยาพวกนี้ก็จะคิดว่าตัวเองนั้นมีเชื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทานยานั้นมันเป็นการป้องกันในขั้นตอนแรกมันเลยทำให้เรารู้สึกว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของยาเพร็พ (PrEP) กับ ยาเป็ป (PEP) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากรณรงค์ให้ทุกคนใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ สังคมในตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนนั้นยังมีความรู้ความเข้าใจที่น้อยมาก เพราะถ้าเราไม่มาทำโครงการนี้เราก็จะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เช่นกัน”