ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม
25 เม.ย. 2559

โครงการ Viet-Thai Commercial Center

            คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ มีเป้าหมายหลัก คือทั้งรักษาตลาดเดิมและเจาะตลาดใหม่  โดยการส่งเสริมพัฒนา ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถดำเนินการส่งออกและลงทุนได้ โดยมีความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และลดอุปสรรคทางการค้าในประเทศเป้าหมาย โดยเราจะเน้นที่ตลาด CLMV ก่อน โดยใช้ชื่อโครงการว่า “CLMV as our home market” เมื่อได้ผลแล้วก็จะขยายผลไปประเทศอื่นต่อไป

            โดยโครงการที่จะนำเสนอโครงการแรก คือ โครงการ Viet-Thai Commercial Center โดยลักษณะของโครงการจะคล้ายกับ Thai Town โดยโครงการนี้จะลงทุนร่วมกับนักธุรกิจเวียดนามในการลงทุนดำเนินการ ซึ่งเราใช้ชื่อ Vietnam ไว้ก่อน เพื่อให้เกียรติประเทศเวียดนาม

            สำหรับรูปแบบ โครงการ Viet-Thai Commercial Center นั้น จะเป็นการส่งเสริมให้ SMEs ไปทำการค้า และลงทุนในธุรกิจที่ประเทศมีความเข้มแข็ง โดยจะมีบริษัทที่มีประสบการณ์ ไปเป็นตัวนำร่องของโครงการ เช่น ธุรกิจอาหาร ก็จะมีบริษัท S&P, Black Canyou// ธุรกิจ Jewelry// ธุรกิจ Fashion// ธุรกิจ Medical Beauty SPA ก็จะมีบริษัท เช่น THANN และ HARNN เป็นต้น รวมถึงธุรกิจ Grocery หรือ Supermarket ไทย ตั้งอยู่ในโครงการอีกด้วย

            เรามีความเชื่อว่า โครงการนี้นอกจากจะช่วยผลักดันสินค้าไทย สนับสนุน SMEs ไทยให้ไปลงทุนในต่างประเทศยังได้มีความร่วมไม้ร่วมมือกับนักธุรกิจเวียดนามในการสร้างงานรวมถึงหาช่องทางธุรกิจใหม่เวียดนามอีกด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยอีกด้วย

            ภาคเอกชน มีความเชื่อว่าเรื่อง TPP-Trans Pacific Partnership เป็นเรื่องที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก ภาคเอกชนยินดีเข้าร่วมเป็น TPP Advissory Group เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกสนับสนุนประกอบการเจรจา รวมทั้งสื่อสารช่วยให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับภาคส่วนอื่นๆ เป็นกระบอกเสียงให้ทางภาครัฐอีกช่องทางหนึ่ง

 

TPP-Trans Pacific Partnership

            ภาคเอกชนมีความเชื่อว่าเรื่อง TPP-Trans Pacific Partnership เป็นเรื่องที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก เพราะ TPP ประกอบไปด้วย 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา แม็กซิโก ชิลี เปรู มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น มีประชากรรวม 800 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการค้าโลก

            หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้สรุปผลการประชุมหารือความเห็นภาคเอกชนไทยต่อความตกลง TPP รายอุตสาหกรรม โดยมีกลุ่มเกษตร และอาหารสำเร็จรูป กลุ่มธุรกิจบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ส่วนมากเห็นสมควรให้ประเทศไทยเข้าร่วม TPP เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดที่ทำการค้าในกลุ่มสมาชิกที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยยังไม่มี FTA ซึ่งบางประเภท เช่น แป้งมันสำปะหลัง ไทยเป็นผู้ผลิตอับดับ 1 ของโลก

            อย่างไรก็ตามอาจมีข้อกังวลอยู่บ้างในสินค้าบางชนิด และผู้ประกอบการของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ซึ่งมีข้อกังวลในเรื่องต่างๆ เช่น ขนาดของบริษัท ต้นทุนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ การปรับปรุงกฎระเบียบ และมาตรฐานต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านแรงงาน และบางธุรกิจยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติ เช่น โรงแรม และประกันชีวิต/ประกันภัย    เป็นต้น

            ภาคเอกชนให้ความสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก และยินดีเข้าร่วมเป็น TPP Advisory Group เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกสนับสนุนประกอบการเจรจา รวมทั้งสื่อสารช่วยให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับภาคส่วนอื่นๆ เป็นกระบอกเสียงให้ทางภาครัฐอีกช่องทางหนึ่งด้วย

โครงการ จัดจั้ง กรอ. เศรษฐกิจ ในประเทศ CLMV

            เนื่องจากภาวะการส่งออกของประเทศไทยติดลบอย่างต่อเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ตลาดการส่งออกที่สำคัญปรับตัวลดลงทุกตลาด ยกเว้นเพียงกลุ่มประเทศ CLMV ที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงกำหนดเป้าหมายเพื่อให้การส่งออกของไทยในปี 2559 เติบโต 5% และได้มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดตั้ง กรอ. เศรษฐกิจในประเทศ CLMV ขึ้น เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน โดยเลือกกลุ่มประเทศ CLMV เป็นประเทศนำร่อง เพราะเป็นตลาดที่ยังมีการส่งออกที่ดี และมีโอกาสขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเป้าหมายดังนี้

            1.เพื่อประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันสร้างโอกาสความสำเร็จในการลงทุนในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

            2.สร้างหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ทั้งแนวทาง กระบวนการ รูปแบบ และขั้นตอนในการดำเนินการ เพื่อเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนและทำธุรกิจในต่างประเทศ

ตัวอย่าง ประเทศเวียดนาม

            1.เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึง ส่งเสริมให้เกิดการค้าและการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

            -ปี 2020 => ยอดการค้าระหว่าง TH-VN 20,000 Mil USD

            -ประเทศไทยติดอันดับ Top Ten ของ FDI ในเวียดนาม แก้ปัญหาภาพลักษณ์ธุรกิจไทยที่สื่อมวลชนเวียดนามโจมตี

            2.เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการทำธุรกิจในต่างประเทศ โครงการที่จูงน้อง พา SMEs เชื่อม Distribution Channel ในประเทศเวียดนาม ตั้งเป้าช่วย SMEs ที่ประเทศเวียดนามอย่างน้อย 10 ราย

            3.เพื่อเจาะตลาดและส่งเสริมสินค้าที่มีศักยภาพในเมืองต่างๆ

            4.เพื่อรวบรวมข้อมูลการค้าการลงทุนในประเทศต่างๆ (Knowledge Tank)

วิธีดำเนินงาน (ร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ)

            1.จัดตั้ง กรอ. เศรษฐกิจในประเทศ CLMV ประกอบด้วย ภาครัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมโยงกับรัฐบาลเวียดนาม และเครือข่ายนักธุรกิจเวียดนามที่ทำการค้าและการลงทุนกับประเทศไทย

            2.สอบถามเพื่อเร่งเจรจาขายสินค้าให้ภาคเอกชนสามารถเข้าไปส่งสินค้าที่ประเทศคู่ค้าต้องการ

            3.ระบุกลุ่มสินค้าที่ทางประเทศเวียดนามต้องการให้ประเทศไทยเข้าไปลงทุน ซึ่งประเทศไทยควรเจรจาขอ privilege เพิ่มเติมได้

            4.เสนอแนะรัฐบาลไทยในการส่งเสริมมาตรการต่างๆที่รัฐบาลไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทยได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...