ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สมอ. เตรียมบังคับให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนเป็นสินค้าควบคุม
06 เม.ย. 2563

 นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนเป็นสินค้าควบคุมตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สมอ. เสนอ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เนื่องจากพบว่าปัจจุบันมีการนำเข้าภาชนะที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาชนะเมลามีนจากต่างประเทศ ซึ่งหากมีการนำไปใช้ใส่อาหารอาจมีการปนเปื้อนของสารฟอร์แมลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพ ปะปนออกมาในอาหารได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใส่อาหารที่มีความร้อนสูง มีไขมัน และอาหารที่มีความเป็นกรด เช่น ต้มยำ แกงส้ม เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรฐานภาชนะเมลามีนฉบับนี้ คาดว่าจะประกาศบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2563 ซึ่งจะทำให้ภาชนะเมลามีนทุกใบต้องได้มาตรฐาน มอก. และต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่สินค้าทุกใบด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ได้กำชับให้ สมอ. เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ครม. อย่างเร่งด่วนเพราะถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับประชาชนมาเป็นอันดับแรก

ปัจจุบัน สมอ. มีมาตรฐานภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนแล้วจำนวน 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน มอก.524-2539 และมาตรฐานภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน-ฟอร์แมลดีไฮด์ ยูเรีย-ฟอแมลดีไฮด์ และเมลามีน-ยูเรีย-ฟอร์แมลดีไฮด์ สำหรับอาหาร : เฉพาะด้านความปลอดภัย มอก. 2921 – 2562 มีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานตาม มอก.524-2539 ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไป จำนวน 4 ราย ซึ่งหากมาตรฐานใหม่ที่เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยนี้มีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการที่ทำ และนำเข้าสินค้าดังกล่าวทุกรายจะต้องขออนุญาตจาก สมอ. ก่อน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้จำหน่ายหากท่านขายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในขณะที่มาตรฐานด้านความปลอดภัยฉบับใหม่นี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ ก็ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เมลามีนที่ได้มาตรฐานที่มีเครื่องหมาย มอก. แบบทั่วไปก่อนเพื่อความปลอดภัย ส่วนภาชนะที่ไม่ได้แสดงเครื่องหมาย มอก. ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะผู้บริโภคไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยตาเปล่าว่าได้มาตรฐานหรือไม่ เนื่องจากของที่มี มอก. และไม่มี มอก. มีลักษณะคล้ายกัน การพิสูจน์ต้องส่งห้องแล็ปทดสอบ

ในเบื้องต้นขอแนะนำว่า หากนำภาชนะที่มีอยู่มาใช้ แล้วนำไปใส่อาหารร้อนหรืออาหารที่มีความเป็นกรด แล้วพบว่ามีความผิดปกติ เช่น ภาชนะเสียความมันเงา ผิวสาก บวม หรือขรุขระ หรือสีภาชนะซีดลง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายปะปนออกมาสู่อาหารได้ แนะนำว่าอย่าใช้ภาชนะดังกล่าว”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...