ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
ม.เกษตรฯศรีราชาร่วมพันธมิตรสัมมนาอนาคตรถไฟฟ้า
07 ก.พ. 2567

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา นำโดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม วิทยาเขตศรีราชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน สุปัตติ) และกองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สอวช. สวทช. EVAT สถาบันยานยนต์ และพันธมิตรยานยนต์ไฟฟ้า  จัดสัมมนาในหัวข้อ “การผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ของไทยสู่ EV Hub ของอาเซียน” 

 ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาเขตศรีราชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทรชัย ชมพันธุ์)  ผู้แทนรองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา  กล่าวเปิดงาน การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า(EV) นอกจากเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการสร้างสังคมที่มีความยั่งยืน และจากนโยบายท่านอธิการบดี (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) และรองอธิการบดี วิทยาเขตศรีราชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. เสรี กุญแจนาค) ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) และพันธมิตร จัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาแล้ว 2 ครั้ง เชื่อว่า EV และพลังงานจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ดังนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กำหนดให้ EV และพลังงาน เป็นหนึ่งในจำนวน 9 ด้านของแผนปฏิบัติการ New S-Curve ที่ต้องขับเคลื่อน ในทศวรรษที่ 9 -10 ดังนั้นการจัดสัมมนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและบุคลากรในประเทศไทย ให้มีความสามารถในการคิดค้นวิจัยและพัฒนานวัตกรรมได้ด้วยตนเอง และเป็นการเตรียมตัวสำหรับโอกาสใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงการอัพเดตนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ พร้อมการเรียนรู้จากตัวอย่างนโยบายการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมจำนวนมากจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ EV HUB ของอาเซียนต่อไป

คุณสุโรจน์ แสงสนิท  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์- ซีพี จำกัด และ อุปนายกฯ ฝ่ายอุตสาหกรรม และการพัฒนาธุรกิจ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “พลิกโฉมอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย “ยานยนต์ไฟฟ้า โอกาส ความพร้อม และความท้าทาย” โดยครั้งนี้ บรรยายให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ความพร้อม และโอกาสของอุตสาหกรรมยายนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มในการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี (EV Hub) และชิ้นส่วนที่สำคัญของภูมิภาค โดยคาดว่า และในปี 2573 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 725,000 คัน ต่อปี คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด โดยความพร้อมที่เห็นได้คือ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย มีจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นกว่า 79% และพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า สร้างการรับรู้การใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการใช้งานอย่างแพร่หลายจากการสนับสนุนจากภาครัฐรวมถึง พร้อมเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน กำหนดมาตรฐานยานยนต์และชิ้นส่วน และการลงทุนจากบริษัทผู้ค้า และผู้ผลิตหลายแบรนด์เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จากการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้และการผลิต

อีกทั้งการตระหนักถึงความท้าท้ายที่ยังคงเกิดขึ้น รวมถึงอุปสรรคในการที่จะเป็น แต่ก็ยังเป็นคำถามที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน เช่น การส่งเสริมการพัฒนาโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเพียงพอ

สร้างกฎระเบียบ มาตรฐานและ แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า การผลักดันนโยบายและมาตรการด้านการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว รวมถึงการพัฒนากำลังคนและพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี

ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย เลขานุการคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นักยุทธศาสตร์ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไทย เป็นผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว และนำเสนอทิศทางนโยบายและแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี EV Conversion โดยได้นำเสนอ สถานการณ์แนวโน้มและความท้าทาย นโยบายและเป้าหมายที่ประเทศกำหนดไว้ การรับมือด้วยยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญและการสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนกลไกเพื่อสนับสนุนการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โดยในส่วนของภาครัฐ ผ่านคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ และภาคเอกชน ผ่านหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่จำเป็น เช่น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไทย เป็นต้น

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม วิทยาเขตศรีราชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.อุเทน สุปัตติ) ได้ถ่ายถอดบทเรียนการดัดแปลงรถบรรทุกขนาดเล็กไฟฟ้าเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยให้ข้อมูลถึงประสบการณ์ แนวทางการดัดแปลง การทดสอบที่สำคัญ ปัญหาอุปสรรค การนำไปใช้งานจริงตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริง เพื่อนำไปสู่แนวทางการกำหนดทิศทางการขับเลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของประเทศไทยต่อไป

การเสวนาหัวข้อ “ประเทศไทยกับการเตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน” : มาตรฐาน การทดสอบ และการจดทะเบียน ผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ กรรมการ สมาคม EVAT ดร.ธงชัย จินาพันธ์ กรรมการ สมาคม EVAT ดร.กมล เอื้อชินกุล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นายวรธน สุขสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนกทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า สถาบันยานยนต์ และ ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย โดยมี ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ เป็นผู้นำการประชุม โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้เข้าร่วมการประชุมในประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ การสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ ความปลอดภัย มาตรฐานศูนย์ทดสอบ การบังคับใช้กฎหมาย และการเตรียมความพร้อมของบุคลากร ที่ต้องมีการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เป็นต้น

การบรรยายทางวิชาการ  ช่วงบ่ายโดย คุณชาคริต ตั้งศิริมงคล Technical manager บรรยายหัวข้อ ”Exploring Future Trends and Solutions in EV Battery Technology” คุณจิระนาถ ขาวเมืองน้อย ผู้ก่อตั้งบริษัท KKT Embedded System Engineering บรรยายหัวข้อ “การทดสอบประสิทธิภาพระบบกำลังรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าโดยใช้ไดนาโมมิเตอร์ (Dynamometer)” และ คุณกุศล มั่นยืน Yokogawa (Thailand) Ltd. บรรยายหัวข้อ “การวัดและการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่สอง ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ทองประศรี พร้อมทีมงานอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา และ ทีมงานจาก บริษัท KBM Technology ได้นำคณะผู้เข้าอบรมเรียนรู้เกี่ยวกับมอเตอร์และพื้นฐานระบบการขับเคลื่อนในการประยุกต์ใช้ในด้านยานยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...