วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus group) ต่อร่างแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 - 2570 (ภาคตะวันออก) ณ โรงแรมโนโวเทล มารีน่า ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราช การจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) ต่อร่างแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 ถึง 2570 (ภาคตะวันออก) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนัก งานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการฯ ณ โรงแรมโนโวเทล มารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยมีหน่วยงานภาค เอกชนและหน่วยงานภาครัฐจาก 8 จังหวัด เข้าร่วม ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ในการประชุมครั้งนี้ นายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้กล่าวถึง การพัฒนาจังหวัดชลบุรีให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ การปรับปรุงโครงสร้างพื้น ฐานสำคัญที่จะเข้ามารองรับการผลักดันทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ในขณะที่หน่วยงานในพื้นที่ต่างแสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่ง จะนำไปพัฒนาและปรับปรุงแผน ปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 - 2570 ให้มีความสมบูรณ์ รอบด้าน หันต่อบริบทการค้าของโลกสมัยใหม่ และจะนำเสนอแผนปฏิบัติการฯ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณา ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบและประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม หารือร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนของจังหวัดในภาคตะวันออกว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานนโยบาย และยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 - 2570 ซึ่งถือว่ามี ความสำคัญยิ่งต่อการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าของประเทศให้เป็นเอกภาพ รวมทั้งมีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีเป้าหมายเดียวกัน โดยร่างแผน ปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยข้อเสนอสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ (1) การพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย แผน ปฏิบัติการฯ (2) การพัฒนาการค้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (3) การค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เกษตร (4) การค้าสินค้าอุตสาหกรรม และ (5) การค้าธุรกิจบริการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา ส่งเสริม ยกระดับ และแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ตลอดจนขับ เคลื่อนเศรษฐกิจ การค้าของประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย
สำหรับการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) ต่อร่างแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 ถึง 2570 (ภาคตะวันออก)ในวันนี้ เป็นการพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย มีเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทย ในตลาดโลก เพิ่มสัดส่วนการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนการค้า กับคู่ค้า FTA การพัฒนาการค้าของ SMEs มีเป้าหมายที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 40% ต่อ GDP และมูลค่าส่งออกของ SMEs อยู่ที่ 20% ต่อมูลค่าส่งออกรวม การค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการส่งออกของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้เติบโตมากกว่าปัจจุบัน การค้าสินค้าอุตสาหกรรม มีเป้าหมายเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP ผลิตภาพรวม และมูลค่าการ ส่งออกของภาคอุตสาหกรรม การค้าธุรกิจบริการ มีเป้า หมายเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจบริการผ่านการค้า ทั้งภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนลดข้อจำกัดทางการค้าของภาคบริการต่อไป