เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ตรวจวัดได้ 31-52.2 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 54 พื้นที่ โดย 5 อันดับของค่าฝุ่น PM 2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1. เขตบางนา 52.6 มคก./ลบ.ม.
2. เขตหนองแขม 51.5 มคก./ลบ.ม.
3. เขตคลองสามวา 47.9 มคก./ลบ.ม.
4. เขตวังทองหลาง 47.3 มคก./ลบ.ม.
5. เขตธนบุรี 46.7 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
34.8 - 41.3 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
35 - 47.9 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
32 - 47.3 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
36.3 - 52.6 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
39.1 - 46.7 มคก./ลบ.ม.ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
38 - 51.5 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทั้งนี้ ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยข้อแนะนำสุขภาพ มีดังนี้
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 13 - 20 พ.ย. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "ไม่ดี-อ่อน" ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวเริ่มมีลักษณะปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดการณ์วันนี้ เมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย.