กระบวนการ “ตีกัน ตีกิน” …!!??
“ห้องแลป” ตรวจทุเรียนไทยไปจีน
ยังคงเป็นปมปัญหา “หนักอก” สำหรับการส่งออก “ทุเรียนไทยไปจีน” ...!!!??
เพราะพลันที่ “จีน” ปฏิเสธการนำเข้าทุเรียนไทยอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะพบสารปนเปื้อนแคดเมียม และ “Basic Yellow 2” หรือที่เรียกันย่อ BY2
ถึงขั้น สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) บังคับให้ “ทุเรียนไทยทุกล็อต” ที่นำเข้าประเทศจีนทุกด่าน จะต้องมีใบรับรอง (test report) และได้แจ้งมายังรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา ทำให้บรรดโรงคัดบรรจุ (ล้ง) หลายแห่งได้ประกาศหยุดรับซื้อทุเรียนที่จะส่งออกไปจีนเป็นการชั่วคราวทันทีเช่นกัน
มีรายงานระบุตัวเลขว่า ในปี 2567 ทุเรียน มีปริมาณการส่งออก 859,183 ตัน มูลค่า 3,755.7 ล้านดอลลาร์ หรือ 134,852 ล้านบาท มีสัดส่วนถึง 72.9% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย มีตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สัดส่วน 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทย ฮ่องกง 1.3% เกาหลีใต้ 0.3% มาเลเซีย 0.2% สหรัฐอเมริกา 0.2%
และนั่น ย่อมทำหมายถึงเม็ดเงินจากการส่งออกมูลค่าสูงถึง “กว่า 1.3 แสนล้านบาท” ย่อมสะดุดลงอย่างไม่ต้องสงสัย ...
เดือดร้อนแน่ คือ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน !!!
ไหนจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งใบรับรองเพิ่มขึ้นแล้ว
แถมยังจะต้องมารอลุ้นด้วยใจระทึกอีกด้วยว่า ทางการจีน โดย GACC จะไฟเขียวใบรับรองของเอกชนไทยหรือไม่ !!!???
โดยเมื่อกลางเดือนมกราคม 2568 ภายหลังจีนปฏิเสธการนำเข้าทุเรียนไทยไม่กี่วัน นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบัน ไทยยังไม่มีแล็ปที่สามารถตรวจผลสาร BY2 ได้
แต่ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2568 รัฐบาล โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศให้สามารถใช้ห้องปฏิบัติการทดสอบสารแคดเมียมและ BY2 ได้แล้วถึง 13 แห่ง แต่จะพอเพียงต่อปริมาณของทุเรียนที่จะออกมาสู่ตลาดหรือไม่นั้น คงต้องรอดูกันต่อไปในช่วงฤดูกาลมาถึง
แต่ก็เป็นเรื่องขึ้นมาทันที เมื่อบริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นสาขาของรัฐวิสาหกิจกลาง China Certification & Inspection Group ในประเทศไทย เสนอตัวต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ขอเข้าทำหน้าที่นำรูปแบบควบคุมคุณภาพ “การตรวจสอบก่อนส่งออก + การสืบสอบย้อนแหล่งที่มา” (Pre-shipment Inspection + Traceability) เป็นระบบที่บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จํากัด ได้พัฒนาขึ้นมา นำมาใช้กับการตรวจสอบทุเรียนไทยก่อนส่งเข้าจีน เมื่อปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา
ซี ซี ไอ ซี ระบุว่า การออกรายงานการควบคุมคุณภาพและแจ้งข้อมูลแก่ศุลกากรจีนของบริษัทฯ จะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจในความปลอดภัยของทุเรียนไทยตรงตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จีน
จะว่าไปแล้ว นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกของผู้ส่งออกทุเรียนไทย ..... ที่ตอบคำถามข้างต้นที่ว่า ต้องรอลุ้นด้วยใจระทึกอีกด้วยว่า ทางการจีน โดย GACC จะไฟเขียวใบรับรองของเอกชนไทยหรือไม่ ได้เป็นอย่างดี !!!??
เป็นทางเลือกที่ควรเป็นสิทธิ์ของผู้ประกอบการส่งออกและเกษตรกรปลูกทุเรียนของไทย ที่จะเลือกส่งไปตรวจสอบที่ใดด้วยความมั่นใจ ...เพราะพวกเขาคือคนเสี่ยงต่อการเป็นผู้สูญเสีย!!!
มิใช่ความเสี่ยงของใครบางคน บางกลุ่ม ที่ออกมาป่าวร้อง ด้วยข้อมูลเท็จต่อการทำงานของ “ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย)”
ที่สำคัญ .... มันไม่ใช่การช่วยเหลือให้การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนมูลค่าแสนล้านเป็นไปอย่างราบรื่น !!!
แต่มันตรงกันข้าม เพราะนี่คือการ "ตีกัน ตีกิน" แบบลวกๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องในกลุ่มเท่านั้น !!!!
ทันควัน บริษัท China Certification & Inspection Group (CCIC) รัฐวิสาหกิจภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับดูแลทรัพย์สินของรัฐแห่งประเทศจีน (SASAC) ได้ส่งคำชี้แจงมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ยืนยันว่า ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) เป็นบริษัทย่อยในประเทศไทยของกลุ่มบริษัท CCIC จีน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1987
มีภารกิจหลักในการให้บริการตรวจสอบและทดสอบผลิตผลทางการเกษตร บริษัทมีห้องปฏิบัติการที่สามารถดําเนินการทดสอบทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร รวมถึงการตรวจสอบสารปนเปื้อนของโลหะหนักและสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ตลอดจนการทดสอบแร่และถ่านหิน
นอกจากนี้ มีรายงานระบุถึงประสิทธิภาพของการตรวจสอบด้วยว่า แม้จะมีถึง 13 บริษัท แต่ก็สามารถรองรับการทดสอบกลุ่มตัวอย่างได้ 3,000 ตัวอย่างต่อวัน ขณะที่ปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยมีมากถึง 859,183 ตัน ยิ่งเข้าสู่ช่วงฤดูกาลด้วยแล้ว การตรวจสอบจะสามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด จึงเป็นปัญหาอีกด้านหนึ่งของการมีห้องตรวจสอบที่เพียงพอ
ที่ว่า .... สงครามหนาม เดิมพันเป็นแสนล้าน ย่อมหอมหวานเสมอ ใครๆ ก็อยากมีส่วนร่วม ของใครบางคน ต้องระวัง ..!!!!
เพราะเมื่อปล่อยข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพ์ ย่อมมีควมความผิดทางอาญานะครับ ......
..................
เอกสารรับรองจาก China Certification & Inspection Group
ประวัติบริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด