ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
นายกรัฐมนตรีเปิดประชุมหน่วยยามฝั่งอาเซียน “ACF 2025”
25 มิ.ย. 2568

วันนี้ (25 มิถุนายน 2568) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมหน่วยยามฝั่งอาเซียน ประจำปี 2568 (ASEAN Coast Guard Forum 2025 : ACF 2025) ณ โรงแรมฮิลตัน พัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พร้อมเยี่ยมชมการฝึกค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยในทะเล และการแพทย์ฉุกเฉินในทะเล ประจำปี 2568 (THAI-MECC SAREX & MEMS-REX:2025)การจัดงานครั้งนี้มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) เข้าร่วมในพิธีด้วย โดยมีนายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และรอง ผอ.ศรชล. รวมถึงพลเรือเอกไพโรจน์ เฟื่องจันทร์ เสนาธิการทหารเรือ และเลขาธิการ ศรชล. ให้การต้อนรับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล. – Thai-MECC) ร่วมกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACF 2025 โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมส่งหน่วยงานยามฝั่งและหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลเข้าร่วมประชุม รวมทั้งมีผู้สังเกตการณ์จาก 9 หน่วยงาน ได้แก่

• Royal Brunei Police Force (RBPF)

• Indonesia Maritime Security Agency (Bakamla RI)

• สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

• Malaysian Maritime Enforcement Agency (MMEA)

• Myanmar Coast Guard

• Philippine Coast Guard (PCG)

• Singapore Police Coast Guard

• Vietnam Coast Guard (VCG)

• กองกำลังทางเรือแห่งประเทศติมอร์-เลสเต (F-FDTL)

นอกจากนี้ UNODC ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Fostering Maritime Safety, Security, and Prosperity in ASEAN” หรือ “การส่งเสริมความปลอดภัย ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองทางทะเลในอาเซียน”

ด้าน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ ผอ.ศรชล. กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของ “เครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาค (Network of ASEAN)” และ “เครือข่ายความเป็นหุ้นส่วน (Network of Partnerships)” ในการคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของชาติสมาชิกอาเซียน (Common Maritime Interests) บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ (Mutual Trust) เพื่อเสริมสร้างภูมิภาคที่ปลอดภัย (Safety) มั่นคง (Stability) มั่งคั่ง (Prosperity) และยั่งยืนร่วมกัน (Regional-Shared Sustainability)

 สำหรับการประชุม ACF จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยการประชุมในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 4 (ครั้งที่ 1 และ 2 จัดที่ประเทศอินโดนีเซีย ครั้งที่ 3 ที่ประเทศฟิลิปปินส์) มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสริมสร้างความร่วมมือ และพัฒนาศักยภาพในการรักษาความมั่นคงทางทะเลของภูมิภาคอาเซียน โดยการประชุมแบ่งออกเป็น 3 คณะทำงานหลัก ได้แก่

1. คณะทำงานด้านความร่วมมือในการดำเนินงาน (Operational Cooperation)

2. คณะทำงานด้านการสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building)

3. คณะทำงานด้านการแบ่งปันข้อมูล (Information Sharing)

นอกจากนี้ยังมีการฝึกซ้อมในรูปแบบ Table Top Exercise เพื่อเสริมสร้างการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 กรกฎาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
02 ก.ค. 2568
ในปีนี้ถือเป็นมีมงคลอีก 1 ปี โดยเฉพาะการเปิดความสัมพันธ์ไทย-จีน ที่เวียนมาครบรอบ 50 ปี ซึ่งแน่นนอ จีนถือเป็นมหาอำนาจหนึ่งของโลกที่ปัจจุบันมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรอบด้าน นั่นเพราะหนึ่ง จีน มีประชากร 1.4 พันล้านคน ที่เป็นตลาดใหญ่ของโลก ที่สำคัญความเจริญรุดหน้า...