“มหาวิทยาลัย: ด่านหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศไทย 4.0”
ผมได้มีโอกาสร่วมประชุมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา
ปกติผู้แทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีการประชุมคณะกรรมการอุดมศึกษากันเป็นประจำอยู่แล้ว
สืบเนื่องจากการเยือนประเทศเกาหลีใต้ ได้มี ผศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ จาก ม.ศิลปากร ผศ.ดร.ดอน อิศรากร และ ดร. วิบูลย์ ปิยะวัฒนเมธา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมคณะฯ กับภารกิจถอดรหัส Creative Economy ด้วยกัน ในที่ประชุม เราจึงร่วมกันหารือเกี่ยวกับประเด็นนี้ ไปจนถึง “เราจะช่วยกันปรับเปลี่ยนประเทศไทย ไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างไร ?”
หลายประเทศกำลังค้นหาและพัฒนา New Economic Model เพื่อสร้างความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 21 อาทิ
สหรัฐอเมริกา : A Nation of Makers
สหราชอาณาจักร : Design of Innovation
จีน : Made in China 2025
อินเดีย : Make in India
เกาหลีใต้ : Creative Economy
หลายท่านคงทราบว่า ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านจาก "Thailand 1.0" ที่เน้นภาคเกษตร ไปสู่ "Thailand 2.0" ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ "Thailand 3.0" ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ในปัจจุบัน
ใน Thailand 3.0 เราต้องเผชิญกับ
1) กับดักประเทศรายได้ปานกลาง
2) กับดักความเหลื่อมล้ำ
3) กับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา
"Thailand 4.0" จึงเป็นการค้นหา New Engines of Growth ชุดใหม่ ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21
โดยการแปลง "ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ" (Comparative Advantage) ของประเทศไทยที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ "ความหลากหลายเชิงชีวภาพ" (Bio-Diversity) และ "ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม" (Cultural Diversity)
เป็น "ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน" (Competitive Advantage) ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม/เทคโนโลยีใหม่ (New Industries/Core Technologies) อันประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1: Food, Agricultural Products & Bio-Tech
กลุ่มที่ 2: Health, Wellness & Bio-Med
กลุ่มที่ 3: Automation, Robotics & Mechatronics
กลุ่มที่ 4: Digital Devices, Internet of Things & Embedded Technology
กลุ่มที่ 5: Culture, Creativity & High Value Services
จาก 5 กลุ่มอุตสาหกรรม/เทคโนโลยีใหม่ เราจะได้ “New Startups" เกิดขึ้นมากมาย อาทิ
กลุ่มที่ 1: Agritech, Foodtech
กลุ่มที่ 2: Healthtech, Spa
กลุ่มที่ 3: Robotech
กลุ่มที่ 4: Fintech, Internet of Things, e-Commerce, Service
Enhancing
กลุ่มที่ 5: Traveltech, Designtech, Lifestyle Business
Thailand 4.0 จึงเป็น "Value-based Economy" ที่สร้างความมั่งคั่งผ่าน “Science & Technology" และ "Culture & Creativity" เพื่อให้ได้สินค้าที่เป็นนวัตกรรม (Innovation) ไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) แบบเดิม ๆ
ภายใต้ 5 กลุ่มใหม่นี้ เราจะใช้ “โมเดลประชารัฐ” ในการขับเคลื่อน โดยผู้มีส่วนร่วมจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงินการธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัด และจุดเด่นของแต่ละองค์กร แต่ละมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยของไทย จะต้องร่วมกันระดมความคิด ว่าจะผนึกกำลังกันอย่างไร เพื่อจะสร้าง 5 กลุ่มอุตสาหกรรม/เทคโนโลยีใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และจะต้องสร้าง “Center of Excellence” สร้าง Research Institution, Lab Facility โดยอาจร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยของไทย และมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมีการสนับสนุนจากรัฐบาล ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การวิจัย (Research Paradigm) ดังต่อไปนี้
1) เน้นการวิจัยที่เป็น "Demand-Side" Research ไม่ใช่ "Supply-Side" Research
2) เน้น Co-Creation & Collaboration ในทุกภาคส่วน
3) เน้นการผลิตสินค้า บริการ และนวัตกรรม เพื่อป้อนตลาดโลก (Global Context)
เราจะร่วมกันสร้าง "Thailand 4.0" โดยมี 3 ตัวขับเคลื่อน คือ “Creativity, Business และ Technology” เพื่อสร้าง New Growth Engines และ New Startups ให้เกิดขึ้น
แต่ละมหาวิทยาลัย จะไประดมความคิดและจะประชุมระดมสมองกันอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้
"Reform in Action" กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยพลังของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น "Forefront" ของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
>> Cr.ดร.สุวิทย์ เมษอินทรี