ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ แทนน้ำใจ กฟผ.เพื่อสังคม
21 เม.ย. 2563

              ใครจะคิดว่าโลกจะเดินทางมาถึงวันที่ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายเป็นใบไม้ร่วง เพราะโรคระบาดCOVID -19 ที่ยังไม่มียาขนาดใดมายับยั้งได้ วันนี้เราจึงทำได้แต่เพียงร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดไปมากกว่านี้ “ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ” อีกหนึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น

              ด้วยลักษณะงานของฝ่ายโรงงานและอะไหล่ (อรอ.) กฟผ. ที่มีทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์งานช่างนานาชนิด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญด้านการซ่อมและบำรุงรักษา เมื่อได้รับการประสานงานให้ออกแบบและผลิตตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ ภารกิจของช่างซ่อมอุปกรณ์โรงไฟฟ้าจึงแปรเปลี่ยนไป ภายใต้คำแนะนำของ นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และฝ่ายแพทย์และอนามัย กฟผ. เพื่อให้ได้ตู้ที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานได้สะดวก มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยระหว่างการตรวจโรคมากที่สุด

             ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น มีลักษณะสี่เหลี่ยมทรงสูง ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูง 2 เมตร ผลิตจากแผ่นอะคริลิกใส หนา 6 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดและความหนาที่ศึกษาแล้วว่ามีความแข็งแรงต่อการใช้งาน สะดวก สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ภายในตู้มีช่องถุงมือปิดซีลอย่างมิดชิดเพื่อใช้เก็บสารคัดหลั่งของผู้ป่วยสำหรับการใช้งานตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวก บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในตู้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันลบ บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้านนอกและผู้ป่วยอยู่ภายในตู้ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยไม่ให้แพร่กระจายออกมาในอากาศได้โดยตรง แต่จะมีระบบกรองอากาศและฆ่าเชื้อก่อนการปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก ทำให้ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันลบมีความปลอดภัยมากกว่าสามารถสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี

ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารคัดหลั่งและจำกัดพื้นที่การฟุ้งกระจายสารคัดหลั่งของผู้ป่วยได้ จึงเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่ง  กฟผ. ได้ทำการผลิตตู้เก็บสิ่งส่งตรวจระบบแรงดันบวก จำนวน 10 ตู้ และตู้เก็บสิ่งส่งตรวจระบบแรงดันลบ จำนวน 10 ตู้ เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาล โดยจะส่งมอบให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งแรก จากนั้นจะกระจายไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และจะดำเนินการผลิตตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันลบเพิ่มอีกจำนวน 90 ตู้ เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องการต่อไป

ไม่มีใครรู้ว่ามหันตภัยที่จู่โจมมนุษย์ไปทั่วโลกครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่อย่างน้อย “ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ” ที่ส่งมอบแทนน้ำใจ กฟผ. ที่อยู่เคียงข้างคนไทยทุกวิกฤติ จะเป็นจิ๊กซอว์เล็กๆช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้ปลอดภัย เป็นกำลังสำคัญให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบมีความแตกต่างอย่างไร ?

              ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวก บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในตู้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สำหรับอากาศหมุนเวียนภายในตู้ จะใช้พัดลมเป่าอากาศเข้าจากปล่องอากาศด้านบน และปล่อยออกทางช่องระบายอากาศด้านล่าง

              ส่วนตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันลบ บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้านนอกและผู้ป่วยอยู่ภายในตู้ มีการควบคุมแรงดันภายในตู้ให้มีค่าน้อยกว่าแรงดันด้านนอก ทำให้อากาศภายในตู้ที่ผู้ป่วยหายใจซึ่งมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ไม่สามารถหมุนเวียนออกมาสู่ภายนอกได้โดยตรง แต่จTถูกผ่านการกรองด้วยตัวกรองอากาศประสิทธิภาพสูง สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กและเชื้อไวรัสโคโรนาได้ พร้อมทั้งมีการฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC อีกครั้ง ทำให้อากาศที่ออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อโรค สามารถสร้างความมั่นใจในการลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...