จากประเทศไทยได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีเป้าหมายต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) อย่างเป็นทางการ จำนวน 2 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 1) เป้าหมายการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกก่อนปี ค.ศ. 2020 และ 2)เป้าหมายการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกหลังปี ค.ศ. 2020
นางณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวถึงการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการในภาคพลังงานเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกก่อนปี ค.ศ. 2020 7 – 20% ภายใต้ NAMAs ซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกคือ 1.การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก ก่อน ปี ค.ศ. 2020: NAMAs ประเทศไทย ได้ยื่น หนังสือแสดงเจตจำนงการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMAs (Nationally Appropriate Mitigation Actions) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 7 ถึง 20 ในภาคพลังงานและภาคขนส่ง เมื่อเทียบกับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานตามปกติ หรือ BAU (Business as Usual) ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
2.การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก หลัง ปี ค.ศ. 2020: INDCs นอกจากนี้ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้ยื่น ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. 2563 หรือ INDCs (Intended Nationally Determined Contributions) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC อย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ถึง 25 ในทุกภาคส่วน (Economy-Wide) เมื่อเทียบกับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานตามปกติ หรือ BAU (Business as Usual) ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)
จากการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้ดำเนินการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก (Tracking) ในระดับมาตรการและนโยบาย ในการนี้ อบก. จึงได้ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมาตรการและนโยบาย ทั้งในส่วนของการพัฒนากระบวนการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึง การพัฒนาโครงสร้างสำหรับกระบวนการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ หรือ MRV (Measurement Reporting and Verification) เพื่อให้แนวทาง วิธีการ และกระบวนการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก ดังกล่าวข้างต้น มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ และมีความน่าเชื่อในระดับมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ อบก. ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ได้บูรณาการแนวทางและวิธีการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีศักยภาพ และมีความประสงค์ในการติดตามประ ไเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมาตรการและนโยบาย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในปี ค.ศ. 2020 โดย อบก. ได้ลงนามบันทึกความความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ 2 หน่วยงานได้แก่
1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีวัตถุประสงค์หลัก ในการบูรณาการวิธีการและกระบวนการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภายใต้แผนการดำเนินงานของ กฟผ. เช่น มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากปรับปรุงระบบผลิตไฟฟ้า และมาตรการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีสะอาด เป็นต้น
2) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) มีวัตถุประสงค์หลัก ในการพัฒนาวิธีการและกระบวนการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ โดยเปลี่ยนจากระบบ Analog ไปสู่ระบบ Digital