ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เอ็นไอเอชู 4 แพลตฟอร์ม ระบายสินค้าเกษตร
18 พ.ค. 2563

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โชว์ 4 แพลตฟอร์มเพื่อช่วยระบายสินค้าการเกษตรไทยในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้แก่ ระบบเจ้าของร่วมผลิต: แพลตฟอร์มสำหรับเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคในการติดตามผลผลิตทางการเกษตรร่วมกัน ระบบการประมูลสินค้าเกษตร: แพลตฟอร์มวิเคราะห์และวางแผนด้านการเพาะปลูกและซื้อผลผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ระบบตลาดออนไลน์ (Marketplace): แหล่งรวบรวมสินค้าสินค้าของเกษตรกรที่มีคุณภาพ ส่งต่อให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระบบการขายออนไลน์ในรูปแบบ B2B และ B2C เพื่อเชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้เข้าถึงกันได้อย่างครบทุกมิติ อย่างไรก็ตาม NIA ยังได้ชี้วิกฤติเชื้อไวรัสโควิด – 19 เป็นโอกาสสำคัญของสตาร์ทอัพด้านการเกษตร เนื่องจากสามารถนำปัญหาต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า จากนโยบายล็อคดาวน์และชัตดาวน์ของหลายประเทศทั่วโลกเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มผลไม้ในช่วงฤดูร้อนที่เริ่มทยอยออกผลเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ ซึ่งเมื่อไม่สามารถส่งออกได้ การสั่งซื้อของร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าก็ลดลงเกือบร้อยละ 50 ทำให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาถูกลง นอกจากนี้ สินค้าเกษตรยังมีระยะเวลาจำกัดเพราะเกิดการเน่าเสียและเสียหายได้ง่าย ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่หลายภาคส่วนจะต้องเร่งผลักดันภาคการเกษตรให้เดินหน้าต่อได้ภายใต้วิกฤติครั้งนี้ โดยเฉพาะในด้านการตลาด การช่วยระบายสินค้า รวมทั้งสร้างทางออกที่เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ปัญหาของเกษตรกรได้รับการบรรเทา NIA โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร หรือ ABC center ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานกลางด้านนวัตกรรมการเกษตร และสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้เติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ จึงได้สนับสนุนให้เกิดกลไกตลาดผ่านแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ผลิตสามารถขายสินค้ากับผู้บริโภคโดยตรง สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

ระบบเจ้าของร่วมผลิต เช่น ฟาร์มโตะ (FARMTO) ช่องทางการขายผลผลิตเกษตรรูปแบบใหม่ที่เชื่อมเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าหากันผ่านวิธีการร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตการเกษตร เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ช่วยเหลือและดูแลคุณภาพผลผลิตไปด้วยกัน โดยหากผู้บริโภคต้องการตรวจสอบผลผลิตก็สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมและติดตามขั้นตอนต่างๆ ได้ เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ และเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะจัดส่งผลผลิตให้ผู้บริโภคตามที่อยู่ที่ลงทะเบียน รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้ตั้งราคาขายผลผลิตด้วยตัวเองเพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้สินและราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกษตรกรได้พัฒนาตัวเองและเรียนรู้ที่จะสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองในอนาคต นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาต่อยอดใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรได้อีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...