นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบทระหว่างปี 2560 - 2562 พบว่าในสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุคือการเสียหลักหลุดออกนอกทางชนกับสิ่งอันตราย และจากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุเชิงลึกสิ่งอันตรายข้างทางที่ผู้ขับขี่เสียหลักหลุดออกนอกทางไปชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) สิ่งอันตรายที่เป็นสิ่งแวดล้อมข้างทาง ได้แก่ ต้นไม้ รั้วบ้าน คันคลอง เป็นต้น 2) สิ่งอันตรายที่เป็นอุปกรณ์จราจร ได้แก่ หลักนำโค้ง เสาป้ายจราจร เสาไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นต้น และจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ปี 2560 ได้คำนวณมูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจราจร พบว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 10 ล้านบาทต่อราย และการบาดเจ็บสาหัสมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย ในขณะที่หลักนำทางที่ผลิตจากยางพารามีต้นทุนการผลิตพร้อมติดตั้งอยู่ที่ 2,500 บาทต่อหลัก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของทางโค้งบนทางหลวงชนบทที่ติดตั้งหลักนำโค้งส่วนใหญ่จะใช้หลักนำโค้งอยู่ประมาณ 14 หลักต่อโค้ง คิดเป็นมูลค่าเงินที่ใช้เปลี่ยนหลักนำโค้งเป็นยางพาราอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาทต่อโค้งเท่านั้น หากมีอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางคอนกรีตจนทำให้มีผู้ขับขี่เสียชีวิต 1 คนเกิดขึ้น จะคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียของชีวิตเท่ากับ 10 ล้านบาท แต่หากโค้งที่เกิดอุบัติเหตุนี้ได้เปลี่ยนไปใช้เสาหลักนำโค้งที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงเช่นยางพาราแทน ผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุหลุดโค้งชนกับเสาหลักนำทางยางพารา อาจไม่เป็นอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต และเมื่อพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางคอนกรีตไปใช้เสาหลักนำทางยางพารา
ทช. จึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางที่ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็กไปใช้เสาหลักนำทางที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่างเสาหลักนำทางยางพาราแทน เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการหลุดออกนอกทางชนกับหลักนำทาง โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนเสาหลักนำทางทุกหลักทั่วประเทศ จำนวน 705,112 ต้น เป็นเสาหลักนำทางยางพาราให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2565 โดยใช้งบประมาณรวม 1,402.172 ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2563 จำนวน 200,000 ต้น ปี 2564 จำนวน 200,000 ต้น และในปี 2565