ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รพ.เมตตา ฯ ชวนรู้ การฉีดยาเข้าวุ้นตารักษาโรคตา
26 พ.ค. 2563

กรมการแพทย์ โดยรพ.เมตตาฯ เผย การฉีดยาเข้าวุ้นตา(Intravitreous Injection) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคที่เกี่ยวกับจอตา สามารถใช้รักษาได้หลายภาวะอาการ เช่น ภาวะหลอดเลือดผิดปกติใต้จอตา จอตาบวม เบาหวานขึ้นตา หรือหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตัน  ซึ่งการฉีดยาเข้าลูกตาจะเข้าไปยับยั้งการเติบโตของหลอดเลือดที่ผิดปกติ ลดการบวมของจอตา และช่วยเพิ่มโอกาสให้มองเห็นภาพชัดขึ้น อาการตามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นสีผิดเพี้ยนไป มีจุดมืดในบางบริเวณของภาพ อาการเหล่านี้ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้

 นายแพทย์วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ  รองอธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่าการฉีดยาเข้าวุ้นตา คือ การฉีดยาในกลุ่มที่มีชื่อว่า Anti-VEGF เข้าไปภายในวุ้นตา ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคทางจอตาหลายโรค ได้แก่ โรคจอตาเสื่อมชนิดเปียก จุดภาพชัดบวมจากเบาหวาน จุดภาพชัดบวมจากหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตันและภาวะเส้นเลือดตางอกใหม่ที่ผิดปกติ ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ การฉีดยาเข้าวุ้นตานั้นมีหลายชนิด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคตาดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก สามารถใช้รักษาภาวะหลากหลายของโรคจอตา โดยยากลุ่มนี้จะไปยับยั้งการเติบโตของหลอดเลือดผิดปกติและช่วยลดการรั่วซึมของหลอดเลือด ลดการบวมของจุดภาพชัดของจอตา

 แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการตามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นสีผิดเพี้ยนไป มีจุดมืดในบางบริเวณของภาพ  อาการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติที่จุดรับภาพชัด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ สาเหตุของโรคตาที่สามารถทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดงอกผิดปกติใต้จุดรับภาพชัด ได้แก่ ภาวะสายตาสั้นมาก จอตาเสื่อมชนิดเปียก การได้รับอุบัติเหตุที่ตา เป็นต้น ภาวะจุดรับภาพบวมสามารถพบในโรคเส้นเลือดดำของจอตาอุดตัน เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น ซึ่งการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยการฉีดยาในกลุ่มที่มีชื่อว่า Anti-VEGF ช่วยรักษาได้ การเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีดยาเข้าวุ้นตา ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาที่ทานอยู่ประจำ เช่น ยาลดความดัน ยาละลายลิ่มเลือดได้ตามปกติ ไม่ควรหยุดยา ควรนำยาที่ทานประจำมาด้วยทุกครั้งในวันที่ต้องได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา ควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลให้ทราบก่อนหากมีอาการผิดปกติเช่นมีไข้ ไอ มีขี้ตาหรือตาแดง เนื่องจากมีโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย พยาบาลจะทำการวัดความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร อัตราหายใจ ระดับการมองเห็นและความดันตา ซึ่งหลังจากได้รับการยืนยันว่าสามารถได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตาแล้วจักษุแพทย์จะเป็นผู้ทำการฉีดยาโดยวิธีปราศเชื้อโดยเริ่มจากหยอดยาชาให้ผู้ป่วยรวมถึงยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาด้วยยาฆ่าเชื้อ และคลุมหน้าด้วยผ้าปราศจากเชื้อและใช้เครื่องมือช่วยเปิดเปลือกตา แล้วทำการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยฉีดผ่านบริเวณตาขาว ซึ่งหลังจากการฉีดยาอาจมีการประเมินการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หลังจากได้รับการฉีดยาแล้วควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำจากพยาบาลอย่างเคร่งครัดโดยหลีกเลี่ยงการขยี้ตาและไม่ให้น้ำหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาข้างที่ฉีดยา และทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า สามารถอาบน้ำและแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตาเป็นเวลา 3-5 วัน ตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งหลังฉีดยาเข้าวุ้นตาอาจเกิดอาการแทรกซ้อนบ้างแต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มองเห็นจุดสีดำหรือฟองอากาศลักษณะกลมลอยไปมาในลานสายตาข้างที่ฉีดยาซึ่งสามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน เลือดออกที่เยื่อบุตาขาว ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน หากมีอาการปวดตาให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละ1 เม็ดโดยควรรับประทานห่างกันประมาณ 4-6 ชม. หากรับประทานยาพาราเซตามอลแล้วประมาณ 2 ครั้ง แล้วอาการปวดไม่ทุเลา และมีอาการปวดร้าวมาที่ท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียน หรือหากตาข้างที่ได้รีบการฉีดยา มีขี้ตาสีเขียว บวมแดง ปวดตามาก การมองเห็นแย่ลงกว่าก่อนฉีดยา หรือมีอาการแพ้แสงควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที และควรมาตรวจตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์จอตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โทร.034-388712-4 ต่อ 9014 เฉพาะในเวลาราชการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...