ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เศรษฐกิจชุมชน
ย้อนกลับ
อก. เผยอุตฯ หลักรับอานิสงส์โควิด-19 ตอบโจทย์การใช้ชีวิตวิถีใหม่
16 ก.ค. 2563
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์รักษาโรค และอาหาร ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์โควิด-19 ขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก เนื่องจากตอบสนองความต้องการสินค้าภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) ประกอบกับแนวโน้มจากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งสามอุตสาหกรรมหลักสามารถขยายตัวได้เต็มที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักของไทยได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งการเว้นระยะห่างทางกายภาพและลดการปฏิสัมพันธ์ กับบุคคลอื่นให้มากที่สุด ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและพฤติกรรมเดิม ๆ เข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคทำให้เกิดความต้องการสินค้าบางประเภทเพิ่มขึ้น จึงทำให้ 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์รักษาโรค และอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า การดำรงชีพภายใต้ชีวิตวิถีใหม่หรือ New Normal ได้ส่งผลให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจในสินค้าที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ระยะ 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 18.50 ความต้องการสินค้ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และจีน เช่น หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เป็นต้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชาชนได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการทำงานที่บ้านหรือ Work from Home รวมถึงสถานศึกษาที่ได้จัดการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้สินค้า Hard disk drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรองรับความต้องการใช้งานบน Cloud และ Data center เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รวม 5 เดือน ในปี 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 1.02 ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่างมาเลเซียและเวียดนามมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รวม 5 เดือน ในปี 2563 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 8.46 และ 0.93 ตามลำดับ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐฯ และจีน อุตสาหกรรมอาหาร ได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศเนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการขยายการผลิตในหลายผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่เก็บรักษาได้นาน โดยมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม 5 เดือนแรก ในปี 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน นำโดยผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แช่แข็งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วง 5 เดือนแรกของปีก่อนที่ร้อยละ 30.88 สัตว์น้ำแช่แข็งขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.41 สัตว์น้ำบรรจุกระป๋องขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.85 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารยังมีอุปสรรค ได้แก่ ปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลให้สินค้าเกษตรลดลง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้วัตถุดิบในบางผลิตภัณฑ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน รวมถึงมาตรการควบคุมการระบาดของต่างประเทศได้ส่งผลต่อธุรกิจให้บริการด้านอาหาร ทำให้สินค้าประเภทไก่เนื้อและน้ำตาลในประเทศไทยมีคำสั่งซื้อลดลง นายทองชัย กล่าว นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายหลังจากโรงงาน ซัพพลายเออร์ และธุรกิจต่าง ๆ กลับมาเปิดตัว ส่งผลต่อการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ถูกหยุดชะงักตามมาตรการควบคุมโรค โดยมองว่าอุตสาหกรรมไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวต่อเนื่องหากไม่มีการระบาดซ้ำหรือกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคในระยะที่ 2 โดยเฉพาะใน 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีการขยายตัวต่อเนื่องและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมไทยกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสว. MOU ป.ย.ป. ปลดล็อกกฎห...
25 ก.พ. 2568
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจฯ ...
09 เม.ย. 2568
รมว.พาณิชย์ ขยายช่องทางกา...
23 มี.ค. 2568
กพร. จับมือ เอส ซี ไอ อีโค...
08 มี.ค. 2568
ออมสิน สืบสานประเพณีสงกราน...
11 เม.ย. 2568
สลากออมสิน ออมร้อย ชิงร้อย...
03 เม.ย. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 450 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
มงคล วิมลรัตน์ อธิบดีกรมพลศึกษา (ป้ายแดง)
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...