ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กรมประมง จับมือ สวทช. ขับเคลื่อนงานวิจัย‘สัตว์น้ำ’
16 ก.ค. 2563

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากข้อมูลการวิเคราะห์สถิติการประมงของจังหวัด พบว่า ตัวเลขข้อมูลของสัตว์น้ำที่ใช้ดำเนินงานจะมาจาก 2 ส่วน คือ การจับสัตว์น้ำจืดจากธรรมชาติ ประมาณ 70% และระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมาณ 30% กรมประมงจึงมีนโยบายในการวิจัยและพัฒนาในส่วนของระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการอาหารของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การพัฒนาองค์ความรู้ในการวิจัย การศึกษา และวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เติบโจและเจริญก้าวหน้า มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของห่วงโซ่อาหารไปจนถึงกระบวนการแปรรูปอาหาร ความร่วมมือนี้จะตอบโจทย์ประเทศในรูปแบบใหม่ให้เติบโตด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อสร้างธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศสู่การแข่งขันในตลาดโลก

"การที่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเจริญก้าวหน้าสู่อันดับแรกๆ ของโลกได้นั้น จะต้องเกิดจากการร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้เชื่อมั่นว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกต่อไปในอนาคต"

ด้านนายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า  สวทช.มีโปรแกรมการผลิตสัตว์น้ำและสุขภาพสัตว์น้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวิจัยด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ ทำงานเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พึ่งพาทรัพยากรและวัตถุดิบภายในประเทศและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศ ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนาในหลายด้าน เช่น ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ที่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการคัดเลือกพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล

ด้านอาหารมีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เพื่อพัฒนาเป็นอาหารและสารเสริมภูมิคุ้มกันในสัตว์น้ำ รวมถึงการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์น้ำโดยใช้เทคโนโลยีการเก็บสารสำคัญ ด้านระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการพัฒนางานวิจัยด้านระบบอัจฉริยะที่ช่วยเกษตรกรติดตามดูแลคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ อันประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลักคือ ระบบบริหารจัดการคุณภาพน้ำ อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมี อุปกรณ์ตรวจวัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคและสุขภาพสัตว์น้ำ เช่น การพัฒนานาโนวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในสัตว์น้ำ

"รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนร่วมกันกำหนดทิศทางงานวิจัยและพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และการทำให้สัตว์น้ำไทยมีเอกลักษณ์เป็นที่หนึ่งของโลก"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...