ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ประธานวิสาหกิจชุมชน รวม 10 แห่ง จาก ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายวิษณุ เครืองาม ( ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ) เพื่อขอให้ช่วยเร่งรัดโครงก
24 ก.ค. 2563

ประธานวิสาหกิจชุมชน รวม 10 แห่ง จาก ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายวิษณุ เครืองาม ( ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ) เพื่อขอให้ช่วยเร่งรัดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(Energy for all) โดยเร็ว และ ต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการนี้ มีประโยชน์อย่างแท้จริง และ จับต้องได้ สำหรับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่  ผู้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ,เกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงาน , ผู้ดำเนินการตัดและนำส่งพืชพลังงานถึงโรงไฟฟ้า , กองทุนหมู่บ้าน และ วิสาหกิจชุมชน ที่จะได้รับจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายไฟฟ้าในโครงการฯ อย่างยั่งยืน โดยไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพางบประมาณจากราชการเลย ซึ่งประเมินขั้นต่ำราว 120 ล้านบาทสำหรับโครงการขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 3 เมกะวัตต์ ในช่วงระยะเวลาสัญญาขายไฟ 20 ปี (หรือ 500,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 20 ปี) 
     

นายสุรเชษฐ์ ภูมิศรีแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว โดย ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ได้ชี้แจงว่าทางชุมชนบ้านเชียง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมมากว่า 5000 ปี  มีการแบ่งและควบคุมพื้นที่ของชุมชนบ้านเชียงออกเป็น 3 วง เพื่อรักษามรดกโลกไว้อย่างหวงแหน  ก็ยังมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยจับสรรพื้นที่รอบนอกในการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อป้อนโรงไฟฟ้า และนำรายได้จากส่วนแบ่งมาช่วยรักษามรดกโลกไว้อีกทางหนึ่งด้วย
   

นางนฤชล พฤกษา ประธานวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนสร้างอาชีพตลาดไทร จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้กล่าวเสริมว่า อำเภอชุมพวง เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ก็ยังประสงค์จะเข้าร่วมโครงการนี้  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และทำไร่อ้อย ขาดทุนจากการประกอบอาชีพซ้ำซาก  มีความหวังที่จะมีรายได้เพิ่มจากการปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อจำหน่ายแก่โรงไฟฟ้าชุมชน  มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 290 คน และได้ประสานงานกับภาคีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองคู่ อำเภอลำทะเมนชัย  จังหวัดนครราชสีมา ที่อยู่ใกล้เคียง มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกหญ้า และ ร่วมกันส่งหญ้าเพื่อสร้างมั่นใจกับโรงไฟฟ้าที่จะมาตั้งในอนาคต
   

ม.ร.ว. วรากร วรวรรณ ในฐานะประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก ( ปม. )
ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า วิสาหกิจนี้เป็นดำริของกรมป่าไม้ในการจัดตั้ง เพื่อทำการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ที่ช้างไม่กินและที่ช้างกิน อีกทั้งส่งเสริมการปลูกหญ้าเพื่อรองรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ประสบคชภัยช้างป่าบุกรุกพื้นที่ สามารถให้คนกับช้างป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล อนึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก(ปม.) รวมตัวจากเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าและคนชั้นกลางที่มีใจอยากจะช่วยแก้ปัญหา มีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินในการเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อความก้าวหน้าในเรื่องการแปรรูปสมุนไพรเชิงพานิชย์  การมีหุ้นส่วนในโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เป็นโอกาสอย่างยิ่งในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
 

ม.ร.ว. วรากร วรวรรณ กล่าวสรุปว่าพวกเราทั้ง 10 แห่งที่รวมเดินทางในวันนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ สนับสนุน ว่าที่ รมว.พลังงานคนไหน   เพียงแต่มีตวามต้องการจะให้โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนี้ ดำเนินการต่อไปตามแผนที่ รมว.พลังงานคนที่แล้วได้วางไว้ถึงแม้โครงการนี้เกิดขึ้น และ พวกเราไม่ได้รับการคัดเลือก  ก็จะไม่เสียใจเลย ครับ   เราขอให้มีโอกาสได้เข้าแข่งขันเท่านั้น ครับ  ม.ร.ว. วรากร   กล่าวทิ้งท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...