การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ล้วนต้องใช้ทรัพยากร พลังงาน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งขยะและน้ำเสีย ดังนั้นสำนักงานจึงมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและทั่วโลก
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมมลพิษ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มสำนักงาน จึงได้ดำเนินการศึกษาเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะ ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับมาตรฐาน ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ขณะที่มีประชาชนในจ.เชียงราย ร้องเรียนมายัง “สื่อ”ให้ตรวจสอบพื้นที่การทำเหมืองหินของ บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพร์เชียงราย จำกัด ที่ได้รับสัมปทาน ระเบิดหิน เพื่อนำไปใช้ทำถนนหนทางในภาคเหนือตอนบน โดยทางบริษัทฯดังกล่าวได้รับสัมปทานมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 จนถึงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
แต่ปรากฏว่า เมื่อ สัมปทานบัตรหมด นั้นหมายถึงว่า บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัด ต้องหยุดการระเบิดหินทันที แต่ปรากฏว่า ชาวบ้านในพื้นที่แจ้งว่า ทางบริษัทฯยังมีการ ลักลอบระเบิดหินภูเขาเป็นช่วงๆ และเชื่อว่า ยังมีการลักลอบขนหินจากประเทศลาวข้ามมายังฝั่งโดยไม่มีการเสียภาษี และมีเจ้าหน้าที่รัฐบางคน รู้เห็น เพราะได้รับผลประโยชน์จากการขนหินเถื่อน ทั้งๆที่ ประทานบัตรหมดอายุลง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถต่อใบอนุญาตให้กับ บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัดหากบริษัทฯดังกล่าวตามที่ประชาชนร้องเรียนมา ยังมีการลักลอบระเบิดหิน และขนหินจากประเทศลาวเข้ามาจริง จะทำให้รัฐเสียรายได้อย่างมหาศาล โดยทางจังหวัดเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีเพียงเสียงที่ออกมาว่า บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัดหมดสัมปทานบัตร และไม่เชื่อว่า จะมีการลักลอบขนหินจากประเทศลาว และลักลอบระเบิดหิน
นายพงษ์พันธ์ ทองภู ผจก.โรงโม่หินและวิศวกรโยธา กล่าวกับ ทีมข่าวสิ่งแวดล้อมถึงกรณีนี้ว่า บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัด มีโรงผลิตและระเบิดหินแห่งเดียว และขอปฎิเสธว่าที่ผ่านๆมาทางบริษัทฯไม่เคยซื้อหินมาจากประเทศลาวแต่อย่างใด เนื่องจากค่าขนส่งไม่คุ้มทุน และระยะการเดินทางหากซื้อจากประเทศลาว จะต้องขนมาเป็นระยะทาง 120กว่ากิโลเมตร ไม่รวมการขนออกจากประเทศลาวมายังหน้าด่านสะพานมิตรภาพไทยลาว และขออธิบายว่า ใบประทานบัตร บริษัทฯหมดไปตั้งแต่ปี 2555 แล้วและ มีหินที่อยู่ในครอบครองอยู่ 4 แสนกว่าตันและนำมาโม่อีกครั้งตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา และใน 2 ปีที่ผ่านมา นำหินกลับมาทำใหม่ในลักษณะที่บริษัทฯนำไปใช้สร้างถนนหนทาง และขอยืนยันบริษัทฯยังไม่เคยไปซื้อหินจากที่ไหนมาเลย และเรายังขออนุญาตนำหินจำนวน 4 แสนตันกว่าออกมาโม่จนหมดแล้ว
เมื่อหินจำนวน 4 แสนตันนำมาโม่จนหมดแล้ว ทางบริษัทฯจะเอาหินที่ไหนมาผลิตได้อีก เรื่องนี้ นายพงษ์พันธ์ กล่าวว่า ถึงหินจำนวนดังกล่าวหมดไป แต่ทางบริษัทฯยังมี หินในสต๊อกที่เก็บไว้อีก จำนวนหนึ่ง มา รีไซคเคิลใหม่ก่อนจะนำออกไปใช้งานที่บริษัทฯรับมานอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างอุตสาหกรรมจังหวัด กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ หมุนเวียนเข้ามาตรวจและไม่มีปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่ หรือ การลักลอบกระทำผิดตาม พรบ.เหมืองแร่แต่อย่างใด นอกจากนี้บริเวณวัดดอยอินทรีย์หมู่ 1 ต.ดอยฮางที่อยู่ด้านหลังมีชาวบ้านร้องเรียนการระเบิดหิน ต้องยอมรับว่าผลกระทบเรื่องเสียง และฝุ่นละออง จริง แต่เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบัน ปัญหาดังกล่าวได้หมดไปแล้ว และบริษัทฯยังให้การสนับสนุน วัด และแหล่งชุมชน ที่อยู่ติดกับเหมืองหินด้วย ส่วนที่ตั้งเรียก โรงงานโม่บดและหย่อยหิน เนื้อที่ 140 ไร่ จำนวน 3 แปลง ใช้เก็บหินที่โม่จำนวน 4 เครื่อง จำนนจำนวนคนงาน 25 คนช่วงหมดประทานบัตร และทางอุตสาหกรรมจะเป็นกำหนดพื้นที่แหล่งหินให้ใหม่ เนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ บริเวณประทานบัตรเดิม และผู้ร้องไม่สมเหตุสมผลซึ่งทางบริหารอยู่ระหว่างการหาข้อมูลต่างๆเพื่อตอบคำถามสังคมต่อไป
ด้านนายอำนาจ เจิมแหล่ ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย กล่าวถึง กรณี บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพร์เชียงราย จำกัด ที่มีการพูดถึง สัมปทานบัตรหมดอายุ ปี 2555 และยังเชื่อว่า มีการดำเนินการระเบิดหิน และ ขนหินจากประเทศลาวเข้ามา โดยมีการจ่ายภาษีให้รัฐว่า ต้องแยกเอกสารออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรก หมดสัมปทานไปตั้งแต่ปี 2541 และไม่มีการต่อแต่ขออย่างใด เนื่องจากอยู่ในลุ่มน้ำ โซน A ซึ่งเป็นส่วนอนุรักษ์ของกรมป่าไม้ ส่วนใบอนุญาตที่ 2 ที่เป็นเนื้อที่แปลที่ติดกัน หมดอายุเมื่อ พ.ศ2555 และอยู่ในพื้นที่ โซน C หากบริษัทฯลักลอบระเบิดหินนั้นเชื่อว่า ไม่น่าเกิดขึ้น
ส่วนนายบุญส่ง เตชะมณีสถิต ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวถึง บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัดที่มีข่าวว่า ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการยังไม่ได้เคยได้รับการร้องเรียนเรื่องการลักลอบขนหินเถื่อนจากประเทศลาว เข้ามายังพื้นที่จังหวัดเชียงราย แต่ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการจากประเทศลาวว่า อยากจะขนหินจากประเทศลาวเข้ามา แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากทางการลาวแจ้งว่าหากต้องการจะขนหินข้ามเข้ามาต้องผ่านทางอ.เชียงของ ที่ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเท่านั้น ฝ่ายผู้ประกอบการไทยบอกว่า หากเป็นอย่างนั้นคงสู้ต้นทุนไม่ไหว ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
นอกจากนนี้จังหวัดเชียงรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางหน่วย รู้เห็นกับการลักลอบหินเถื่อน ทางนายบุญส่ง กล่าวว่า เรื่องที่ ผู้สื่อข่าว ถาม เป็นเรื่องไม่มีข้อเท็จจริง และน่าจะเกิดการร้องเรียนของ กลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจ โรงโม่หิน ที่ขัดผลประโยชน์กันเอง มีการแย้งตลาดกันเอง เรื่อง ข้าราชการเข้าไปเอี่ยวผลประโยชน์ด้วยขอยืนยันไม่มี
อย่างไรก็ตาม เรื่อง ร้องเรียนดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเชิงลึก ถึงการลักลอบระเบิดหิน และการลักลอบขนเถื่อนจากประเทศลาว หากทาง บริษัท หาญเจริญเอนเตอร์ไพรส์เชียงราย จำกัด ออกมาปฎิเสธเรื่องการ ระเบิดหินและลักลอบขนหินจากประเทศลาว หน่วยราชการจังหวัดเชียงรายและรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ เพราะถือ เป็นการหลีกเลี่ยงการชำระภาษี และยังทำผิดเรื่องการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม ที่ชาวบ้านรอบเหมืองหินเคยร้องเรียนมา คงจะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง เนื่องจาก ยังมี คู่แข่งอีก 2 บริษัทฯใหญ่ที่เป็นเสมือนคู่แข่ง แต่ดูเหมือนว่า งานนี้ จะชี้วัดกันด้วย ความหนาของธนบัตร และ ผู้ใหญ่ในส่วนกลาง และผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงราย ว่าได้ ใครเสีย ผลประโยชน์ประเทศชาติอยู่ตรงไหน อีกไม่นานคงได้รับการพิสูจน์ในข้อเท็จจริงต่อไป