ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในงานกิจกรรมรายงานผลดำเนินโครงการเสริมศักยภาพการจัดการระบบนิเวศป่าพรุเพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
สำหรับโครงการเสริมศักยภาพการจัดการระบบนิเวศป่าพรุเพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาตื หรือ UNDP โดยมุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของป่าพรุและมุ่งสร้างความความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัยของป่าพรุที่มีต่อระบบนิเวศให้แก่ประชาชน ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 964,769 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ป่าพรุควนเคร็ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย พื้นที่รอยต่อเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พื้นที่พรุในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินสาธารณะ และพื้นที่ป่าชุมชนนำร่อง 3 แห่ง wfhcdj ป่าชุมชนควนเงิน ป่าชุมชนสวนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และป่าชุมชนไสขนุน
โดยโครงการได้ดำเนินการวางแปลงถาวรติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ 3 รูปแบบ ทั้ง ป่าพรุดั้งเดิม ป่าพรุที่ถูกรบกวน และป่าพรุที่ถูกเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นสวนปาล์ม พร้อมประเมิณผลการเปลี่ยนแปลงการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจก วิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บในมวลชีวภาพเหนือผิวดิน และปริมาณคาร์บอนในดิน พบว่า ปริมาณกักเก็บคาร์บอนในพรุควนเคร็ง 464,769 ไร่ สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 29,682,787 ตัน แบ่งออกเป็นคาร์บอนในดิน 22,103,431 ตัน และคาร์บอนเหนือผิวดิน 7,579,356 ตัน ซึ่งถือว่ามีการกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าประเภทอื่นสูงถึง 10 เท่า
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการศึกษาความสำคัญของป่าพรุต่อแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่าพรุให้กลับมาสมบูรณ์ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันคัดเลือกพันธุ์ไม้ป่าพรุ เพื่อปลุกฟื้นฟูป่า พร้อมแจกกล้าไม้ให้ชุมชนใกล้เคียงนำไปร่วมกันปลูกขยายพื้นที่ป่า รวมถึงการจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานท้องถื่นในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันที่เกิดขึ้นในป่าพรุ ฝึกทักษะการใช้ดปรแกรมสำเร็จรุปทางภูมิสารสนเทศในการตรวจสอบและลาดตระเวน สำหรับการปฏิบัติงานภาคสนาม รวมถึงการอบรม SMART PATROL เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ต่อไป
นายยุทธพล กล่าวว่า ป่าพรุ เปรียบเสมือนตู้กับข้าวของคนภาคใต้ ที่หลายคนต้องพึ่งพา ใช้สอยประโยชน์ ทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ การปล่อยให้พื้นที่ป่าพรุถูกบุกรุกทำลาย หรือเกิดไฟไหม้ ก็เหมือนกับการทุบทำลายตู้กับข้าวตัวเอง นอกจากนี้ป่าพรุยังมีความสำคัญในด้านการลดภาวะโลกร้อน เพราะเป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าประเภทอื่นถึง 10 เท่า ขระเดียวกัน ก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 เป็นกฏหมายด้านป่าไม้ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ในการดูแลรักษา บริหารจัดการป่าไม้ใกล้หมู่บ้าน รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ขอให้ทุกฝ่ายทั้งหน่วนงานรัฐที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานเอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือร่วมใจกันดูแลรับผิดชอบทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนเอง ให้คงความสมบูรณ์ เพื่อส่งต่อให้ลุกหลานของเราในวันข้างหน้า