ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
มทร.ธัญบุรี ยกระดับเกษตรไทย ปั้น 6 กลุ่มคลัสเตอร์ด้วย เทคโนโลยี
25 ส.ค. 2563

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เผยว่า มทร.ธัญบุรี ได้ร่วมผลักดันและยกระดับเอสเอ็มอีของประเทศ โดยยังคงทำงานในบทบาทของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยระยะเวลากว่า 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ดังเช่น โครงการ SME-Turn around, SME-Startup SME-Strong/Regular Level, SME-Online, SME-Cluster และ Farm-Machinery Cluster ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่บริการวิชาการด้วยนวัตกรรม โดยเข้าไปมีส่วนร่วมสำคัญกับองค์กรภาครัฐ สถานประกอบการ และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ประกอบการภาคธุรกิจ เพื่อต่อยอดนวัตกรรม องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยไปสู่กระบวนการผลิต การบริหารกระบวนการและส่งมอบนวัตกรรมต่อชุมชนสังคมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

ล่าสุด มทร.ธัญบุรี ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอี ปี 2563 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตร จนมีการรวมกลุ่มทั้งหมด 6 คลัสเตอร์ ซึ่งกลุ่มต่าง ๆ ต้องการนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อไปใช้ในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตผลการเกษตร ตลอดจนลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างการพัฒนามีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน โดยมีคณาจารย์จาก มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่สำรวจปัญหา และนำองค์ความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จในเบื้องต้น และพร้อมเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรต่อไป

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มโน สุวรรณคำ ผู้อำนวยการกองกลาง ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวเสริมว่า มทร.ธัญบุรี ได้นำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีไปส่งเสริมแต่ละคลัสเตอร์ เช่น เทคโนโลยีลดความร้อนในโรงเรือนปลูกเมล่อน โดยการใช้ลูกหมุน (คลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรเมล่อนสุพรรณบุรี) เทคโนโลยี Boom Sprayer (คลัสเตอร์เทคโนโลยีสับปะรดบ้านคา) นวัตกรรมถุงตากแห้งข้าว (คลัสเตอร์เทคโนโลยีข้าวศรีสะเกษ) นวัตกรรมเครื่องสลัดน้ำออกจากผัก (คลัสเตอร์เทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์กาฬสินธุ์) นวัตกรรมโรงเรือน Knockdown (คลัสเตอร์เทคโนโลยีเกษตรชัยภูมิ) และเทคโนโลยีการใช้โดรนฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ (คลัสเตอร์เทคโนโลยีมังคุดนครศรีธรรมราช) ซึ่งนวัตกรรม-เทคโนโลยีที่ มทร.ธัญบุรี ไปช่วยส่งเสริมดังกล่าวนับเป็นการแก้ปัญหาที่เป็น Pain Points หลักในกระบวนการผลิตทางการเกษตรของแต่ละคลัสเตอร์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการยกระดับแนวคิดของตนเองและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ มทร.ธัญบุรี ได้จัด “กิจกรรมสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดในเชิงรุกของคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร” ซึ่งมีการอบรมกิจกรรมสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดเชิงรุกให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างคอนเน็คชั่นเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด เทคนิคการจัดแสดงสินค้า การหาคู่ค้าแบบยั่งยืน รวมถึงการเจรจาและจับคู่ธุรกิจหรือ Business Matching 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...