1 ก.ย. นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามผลงานวัยเรื่อง “ผลกระทบต่อพฤติกรรมประสาทของเด็กทารกจากการขาดไปโอดีน และการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช” ของ ศ.พรพิมล และคณะ พบว่า 1. ตรวจพบสารพาราควอตและออร์แกโนฟอสเฟตในเลือด ปัสสาวะ และน้ำนมของหญิงคลอดบุตร 2. ตรวพบสารพาราควอตและออร์แกโนฟอสเฟตในเลือดจากสายสะดือและขี้เทาของเด็กทารก และตรวพบความผิดปกติทางระบบประสาทของเด็กทารกเหล่านี้
“จากผลการศึกษานี้ บ่งบอกถึงผลกระทบของการใช้พาราควอตและออรฺแกโนฟอสเฟตต่อหญิงตั้งครรภ์และเด็กทารกอย่างชัดเจน ซึ่งในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการเฝ้าระวังและตรวจสอบสารตกค้างในผักและผลไม้สด ดดยจัดระบบเฝ้าระวังสารตกค้างในผักและผลไม้สดให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่ง พร้อมส่งข้อมูลต่อให้กรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามนโยบายของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกกระทรวงสาธารณสุข” นพ.สมฤกษ์ กล่าว
นพ.สมฤกษ์ กล่าวด้วยว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้สุ่มตัวอย่างผักและผลไม้สดจากตลาดใน 41 จังหวัด จำนวน 154 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2563 พบว่า มีสารคลอร์ไพริฟอสตกค้างในตัวอย่างผักผลไม้สด 20 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13 โดยมีผักผลไม้ที่พบ ได้แก่ ใบบัวบก คะน้า กะหล่ำปลี ส้ม องุ่น ฝรั่ง มะยงชิด และพบไกลโฟเซตตดค้างในตัวอย่างผักผลไม้สด จำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4 โดยผักผลไม้ที่พบ ได้แก่ พริกขี้หนู ผักกาดขาว ผักแพว โหระพา ส้ม องุ่น
“และในเดือนพฤษภาคม ได้สุ่มเก็บตัวอย่างถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวบาเลย์ และแป้งข้าวสาลี จำนวน 12 ตัวอย่าง พบว่า มีการตกค้างไกลโฟเซตในตัวอย่างถั่วเหลือง 4 ตัวอย่าง นอกากนี้ จากผลการตรวจพบคลอร์ไพริฟ อสและไกลโฟเซตในผัก ผลไม้สด และธัญพืช แม้ะมีประกาศให้มีการยกเลิกการใช้คลอร์ไพริฟอสและพาราควอต และจำกัดการใช้ไกลโฟเซตแล้ว แต่เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน กรมวิทยาศาสตร์ฯ จะเฝ้าระวังการปนเปื้อนทั้ง 3 สาร อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป” นพ.สมฤกษ กล่าว