สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2563 ปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เป็นต้น สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม2563ว่า “สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2563 ปรับตัวดีขึ้น
ในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เป็นต้น สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)”โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนหลายตัวปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 28.9 10.4 และ 3.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปีนอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ53.7 และ 73.0 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -32.3 และ -46.7 ต่อปี ตามลำดับแต่ชะลอตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -44.1 และ -51.4 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ-0.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคกลางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวถึงร้อยละ 17.0 และ 15.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัวได้ร้อยละ 166.8 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 1,583 ล้านบาทสำหรับวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ในจังหวัดชัยนาทและจากโรงงานรับจ้างสีข้าวและขัดข้าวในชุมชนท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 49.5 และ 85.3 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -54.2 และ -66.6 ต่อปี ตามลำดับแต่ชะลอตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ-62.8 และ -70.2 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.7ต่อปี
เศรษฐกิจภาคเหนือดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนหลายตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.6 4.2 และ 14.2 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับ 52.4 และ 66.5 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัว
อยู่ที่ร้อยละ -35.2 และ -59.3 ต่อปี ตามลำดับจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -35.9 และ -55.6 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ-0.9ต่อปี
เศรษฐกิจภาคตะวันออกดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวได้ถึงร้อยละ 22.6 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 79.4 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 2,854ล้านบาท จากโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณภาพและเสียงในจังหวัดชลบุรีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งสองดัชนี
เป็นเดือนที่ 4อยู่ที่ระดับ 53.8 และ 103.2 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -44.4 และ-74.8 ต่อปี ตามลำดับแต่ชะลอตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -51.5 และ -75.7 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.8ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.6ต่อปี
เศรษฐกิจภาคตะวันตกดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 36.3 ต่อปี เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ที่กลับมาขยายตัวได้โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 49.5และ 85.3 ตามลำดับส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้มีการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -21.3 และ -45.9 ต่อปี ตามลำดับจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -21.6 และ -41.6 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี
เศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑลดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของรายได้เกษตรกร โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ15.7 ต่อปี จากราคาพืชผล อาทิ ข้าว พืชผัก และกล้วย ที่เพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 21.3 ต่อปี และเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 45.1 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน6,308ล้านบาท จากโรงงาน
ทำถุงพลาสติกในจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 50.4 และ 85.3ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -65.7 และ -84.7 ต่อปี ตามลำดับแต่ชะลอตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -79.8 และ -90.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคใต้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนสิงหาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการขยายตัวของรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 16.8 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 47.5 และ 81.9 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังชะลอตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้
จากการเยี่ยมเยือนหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -67.8 และ -87.5 ต่อปี ตามลำดับจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ-68.0 และ -87.1 ต่อปี ตามลำดับสำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -1.1 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.8ต่อปี