ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
นฤมล ผุดไอเดีย ตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากร รับอุตสาหกรรมดิจิทัลและเครื่องมือแพทย์
08 ต.ค. 2563

 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน จัดทำแผนพัฒนากำลังคนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve โดยมีนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 11 หน่วยงาน  ประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข  สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการอาชีวศึกษา สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมการประชุม

ศ. นฤมล กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้กำหนดทิศทางการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศไว้ 3 ประการ ประกอบด้วย “สร้าง ยก ให้” โดย สร้างแรงงานคุณภาพให้มีความรู้และทักษะตามความต้องการของตลาดแรงงาน ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงานเพื่อรองรับอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น และให้แรงงานกลุ่มเปราะบางทางสังคม ได้แก่ ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย แรงงานสตรี ผู้สูงอายุ ได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะฝีมืออย่างเท่าเทียม เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการจ้างงานลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจึงต้องใช้กลไกการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ร่วมกันวางแผนการพัฒนากำลังคนและจับคู่คนกับงานให้เหมาะสม ทำให้แรงงานไทยสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อให้เศรษฐกิจและสังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้ในวิถีใหม่และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน

รมช.แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การพัฒนากำลังคนสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จึงได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาแรงงานและประสานงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามประเมินผล จึงจัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น โดยมีนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อน และร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เมื่อผ่านความเห็นชอบจากการประชุมในครั้งนี้แล้ว จะเสนอให้ กพร.ปช. ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาต่อไป 
นอกจากนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ รองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลและการแพทย์ จึงเสนอแนวคิด จัดตั้งสถาบันพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมดิจิทัลและ IoT (Digital IOU Development Academy: DIDA) และสถาบันพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Medical Equipment Development Academy: MEDA) เพื่อเป็นหน่วยจัดอบรมเฉพาะด้าน ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับการอบรมอย่างเข้มข้น ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะที่สอดรับกับความต้องการ มีศักยภาพสูง สามารถทำงานด้านดิจิทัลหรือด้านการแพทย์ ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความรู้ความสามารถของแรงงานใน 2 อุตสาหกรรมนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต จึงต้องเตรียมแรงงานให้มีความพร้อมในเรื่องดังกล่าว

“การตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนบางอุตสาหกรรม  เช่น อนุกรรมการด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหรรมด้านโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมด้านเกษตร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถเริ่มขับเคลื่อนได้ก่อนนั้น ขอให้คณะอนุกรรมการร่วมได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะการดูความพร้อมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อแผนการขับเคลื่อนประเทศในระยะยาวทั้งด้านแรงงานและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หลังจากนั้นจึงค่อยวางแผนตั้งคณะอนุกรรมการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในลำดับถัดไป โดยต้องเสนอต่อที่ประชุมของคณะกรรมการ กพร.ปช. ต่อไป  สิ่งสำคัญที่ต้องฝากคณะกรรมการร่วมในชุดนี้คือ การกำหนดแผนพัฒนากำลังคนทั้งประเทศออกมาให้ได้  เพื่อนำเสนอในที่ประชุม กพร.ปช.ในครั้งต่อไปด้วย” รมช. แรงงาน กล่าวในท้ายสุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...