ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
พม.ร่วมหลากองค์กรรัฐพัฒนาอีคอมเมิร์สหางาน-อาชีพ
14 ต.ค. 2563

 นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเป็นสักขีพยานและกล่าวถึงความร่วมมือ การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนามาตรฐานสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และธนาคารออมสิน โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี และนางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รักษาราชการแทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าว

 

        นางสาวสราญภัทร กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนด้านสุขภาพและอื่นๆ มากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งโดยพื้นฐานมีความเดือดร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กลับยิ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นจากสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาสังคม สร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและชุมชน เพื่อมุ่งสู่การสร้างสังคมดี คนมีคุณภาพ มีความตระหนักต่อผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย แต่ในวิกฤติย่อมมีโอกาส ซึ่งบทเรียนสำคัญที่ผ่านมาบอกกับเราเสมอว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แยกส่วนกัน จึงทำให้เราได้เห็นพัฒนาการหลายอย่างของการให้บริการภาครัฐและโอกาสใหม่ๆ ของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี กับการให้บริการแก่ผู้บริโภคทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการเปิดรับ Social Normal ใหม่ๆ ที่เป็นผลพวงจากการใช้ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อาทิ สังคมไร้เงินสด และการทำงานทางไกล เป็นต้น

 

        นางสาวสราญภัทร กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวง พม. ได้บูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิต อาชีพใหม่ ชีวิตใหม่หลังโควิด ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบกับวิกฤติในเรื่องอาชีพและรายได้ โดยการสำรวจผู้ที่ตกงานจากภาคแรงานและกลุ่มคนเปราะบางทางสังคม เช่น คนยากจน พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้ที่มีการศึกษาในระดับไม่สูงนัก รวมไปถึงบัณฑิตใหม่ที่จบการศึกษาในช่วงวิกฤตินี้ ทั้งนี้ จึงได้ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น อาชีพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อาชีพการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ (Caregiver) อาชีพธุรกิจการบริการแบบใหม่ (Hospitality) ตลอดจนการสร้างความตระหนักรู้ และเร่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะกลุ่มอาชีพในชุมชน ให้มีทักษะการใช้ช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะเปิดโอกาสของการเข้าสู่ระบบตลาดที่เปิดกว้างและสร้างแรงจูงใจให้แรงงานพัฒนาตนเอง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

 

        นางสาวสราญภัทร กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซหรือผู้ที่ผ่านการอบรมเรียนรู้ทางออนไลน์ จากหลักสูตร EASY E-COMMERCE ACADEMY SKILLS LEARN BY YOURSELF ของ ETDA สามารถเข้ารับการประเมินทดสอบสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ เพื่อยกระดับทักษะความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซของคนไทยให้เป็นที่ยอมรับของสากล สู่การสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมลงทุน ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน ที่สำคัญยังก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรมและการขับเคลื่อนธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ การพัฒนากำลังคนด้านอีคอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน

 

        นางสาวสราญภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. ขอขอบคุณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมากที่สนับสนุนให้ กระทรวง พม. มีส่วนร่วมในโครงการ THAILAND e-Commerce SUSTAINABILITY โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในการทำอีคอมเมิร์ซ การเพิ่มช่องทางการขายของออนไลน์ การยกระดับสินค้าชุมชน GO Online พร้อมต่อยอดถอดบทเรียนการพัฒนาคู่มือสำหรับกลุ่มอาชีพในชุมชน ซึ่งจะร่วมกันดำเนินการต่อเนื่องไปถึงปี 2564 ซึ่งกระทรวง พม. มั่นใจว่าอีคอมเมิร์ซจะเป็นกระบวนการทำงานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับกิจกรรมภายใต้ฐานวิถีชีวิตใหม่ และพร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา โดยกระทรวง พม. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...